อัพเดตของสะสมจาก Mobile Suit Gundam AGE ใหม่ล่าสุด

วันนี้ผมก็นำของเล่นของสะสมจากซีรี่ย์ Gundam Age มาอัพเดตกันเพียบครับ หลากหลายรุ่นหลากหลายแบบซึ่งนอกจากอัพเดตกันแล้วก็ยังนำเอาเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ มาฝากกันด้วย โดยผมเชื่อครับว่าหลายครั้งบางคนจะซื้อของเล่นมาประกอบกันสักกล่องแต่อาจจะงงหรือไม่เคยสังเกตเลยด้วยซ้ำกับตัวย่อที่ระบุอยู่ข้างมุมกล่องกันเลย อาทิเช่น MG,HG,SD,MEGA,GB ว่าตัวย่อนี้คือสินค้าแต่ละรุ่น ซึ่งจะแตกต่างไม่เหมือนกันอย่างไรก็ไปติดตามชมกันเลยครับ


Mega Size Model
 เป็นโมเดลที่ไม่แพงเกินไปและสามารถประกอบได้ง่ายโดยมีจุดเด่นอยู่ที่ขนาดที่มีความสูงถึง 37.5 ซม.
จึงไม่น่าแปลกใจครับ ว่าทำไมซีรี่ย์ Mega Size Model จึงได้รับความนิยมสูง

และสำหรับตัวแรกของภาคนี่ที่ถูกผลิตออกมาก็คือเจ้า Gundam Age-1 Normal นั้นเองละครับ มีราคาอยู่ที่ประมาณ 8,500 เยน

รู้สึกว่ารุ่นนี้จะมีไฟที่หน้าอกและดวงตาด้วยครับ

เทียบขนาดกันดูเลยครับว่าใหญ่โตขนาดไหน

ต่อด้วย รุ่น Master Grade หรือที่เรามักจะเห็นตัวย่อที่เขียนว่า MG นั่นเอง

ซึ่งในซี่รี่ย์นี้ก็จะเน้นที่การผลิตอย่างรวดเร็ว โดยจะเป็นโมเดลขนาด 1/100 ครับ หรือประมาณ 18 ซม. ซึ่งก็เริ่มผลิตตัวแรกจาก
Gundam Age-1 Normal เป็นตัวแรกและตัวที่จะออกมาก็คือ Titusและ Spallow ครับ มีราคาอยู่ที่ 3,500 เยน

และอีกรุ่นต่อมาคือ High Grade Gundam Age หรือย่อๆ เรียกว่า HG นั่นเอง


เป็นโมเดลขนาด 1/144 ที่ได้มีการพัฒนาเรื่องสัดส่วนและความง่ายในการประกอบให้ดีขึ้นกว่าเดิมและนับว่าเป็นซี่รี่ย์ที่มีการผลิตตัวเด่นๆ จากอนิเมออกมามากที่สุดอีกด้วยครับราคาประมาณ ตัวละ 1,200 เยน

Avanced Grade หรือ AG
เป็นโมเดลขนาด 1/144 โดยมีจุดเด่นอยู่ที่สามารถนำเอาตัวโมเดลที่ว่านี้ไปเชื่อมต่อด้วยระบบ Gade-ing link กับตู้เกมศืหรือของเล่นในซีรี่ย์
Gade-ing Builder ได้เช่น Gade-ing Haro

 

 

และนอกจากนี้ในกล่องยังแถมการ์ดมาให้อีกด้วยครับ ราคากล่องละ 600 เยน

ส่วนใครที่ชอบ แนวๆ น่ารัก ก็ต้อง SD Gundam ย่อมาจาก Super Deformed Gundam เลยครับ
ด้วยการดีไซน์ใหม่ให้ออกแนวน่ารัก โดยเน้นหัวโตตัวเล็ก จึงเป็นที่ชื่นชอบอย่างในกลุ่มวัยรุ่น

 

 

โดยตัวแรกที่ออกมาก็คือ Gundam Age-1 ที่มีออฟชั่นให้แปลงร่างได้ถึง 3 ร้านเลยทีเดียวครับ
มีราคาประมาณ 1,000 เยนครับ

ถัดมาคือ Robot Side MS

 

เป็นของเล่นที่มีจุดเด่นอยู่ที่เป็นโมเดลที่ประกอบแล้วลงสีสำเร็จมาแล้ว มีความสูงอยู่ที่ 12.5 ซม.เป็นอีกหนึ่งซีรี่ย์ที่คนนิยมมากเนื่องจากจุดขยับที่มีอยู่ทั่วตัวและไม่ต้องเสียเวลามานั่งประกอบด้วยครับ

ราคาตัวละ 3,200 เยน

Gage-ing Builder หรือ GB

เป็นสินค้าในหมวดของเล่นสำเร็จรูปที่มาในขนาด 1/100 หรือประมาณ 18 ซม.โดยสามารถนำไปเล่นพลิกแพลงได้หลากหลายรูปแบบ หรือเชื่อมต่อกับตู้เกมส์ผ่าน Gading Battle หรือ Gage-ing Haro
หรือ AGE-Device

 


หน้าตาของเจ้าตู้เกมส์ครับ


จากนั้นก็นำของเล่นในชุด Gage-ing Builder  มาเปลี่ยนร่างและสแกนเพื่อนำไปต่อสู้ในตู้เกมได้ทันทีครับ

ราคาอยู่ที่ 2,800 เยนครับ

รุ่นสุดท้ายก็คือ Gundam Age Gwear

 

โดดเด่นในเรื่องชุดแต่งของตัว Gundam Age เองที่จะมีส่วนต่างๆ ขายแยกมาซึ่งเราสามารถซื้อเพิ่มได้เพื่อมาเสริมกับ Gundam Age-1 Normal ให้เป็นร่างอื่นๆ ได้อีกด้วยครับเช่น Titus หรือ Spallow หรือแม้แต่จะต่อตามใจฉันก็ได้ครับ อิอิ

Mascot ประจำอนิเมของกันดั้มที่เราคุ้นเคยเห็นหน้าคาดตากันเป็นอย่างดี ซึ่งมาในรูปแบบเกทส์ที่เราสามารถนำมาเล่นสแกนข้อมูลจากตัว Advan Grade หรือ AGE-Device มาเล่นในตัว Gage-ing-Haro

 


และยังสามารถนำเอาข้อมูลในเกมไปโหลดเข้า Gage-ing Battle Base โดยผ่าน Age Device ได้อีกด้วย ราคาอยู่ที่ 5,700 เยน

ตบท้ายจริงๆ แล้วนะครับ เป็น Gage-ing AGE Device


เป็น AGE Device ที่ทางตระกูลอาซูโน่ครอบครองอยู่ถูกนำมาผลิตอยู่ในรูปแบบของเล่นขนาดเท่าจริงที่สามารถเล่นเสียงตัวละครและเอฟเฟคต่างๆ รวมไปถึงมินิเกมนอกจากนี้ยังสามารถนำข้อมูลไปโหลดลงGage-ing Haro หรือ Gage-ong Battle Base ได้อีกด้วยครับ

อุปกรณ์การต่อกันพลาเบื้องต้น

1. Gundam Marker สำหรับตัดเส้น

จำเป็นมากครับ เพื่อที่จะทำให้โมเดลของเรานั้นมีรายละเอียดที่ชัดเจนงดงามขึ้น วิธีการตัดเส้นก็คือ เอามาร์กเกอร์ เขียนลงไป
บนตัวโม (ที่มีร่องอยู่) เลยครับ รายละเอียดของมาร์กเกอร์แบบต่างๆ เชิญอ่านได้ ที่นี่ครับ http://www.thaigundam.com/forum/index.php?topic=50.0
ราคาของมาร์กเกอร์สำหรับตัดเส้นนั้นจะอยู่ที่ 100-120 บาทครับ

ภาพกันพลา Master Grade RX-78-2 O.Y.W. ก่อนตัดและหลังตัดเส้นครับ

2. คีมตัด

คีมตัด แน่นอนครับเราคงไม่ใช้มือบิดมันออกมาจากแผงแน่ๆ คีมที่เป็นที่นิยมก็ของ Tamiya นี่หละครับ คมและตัดได้สวยงามจริงๆ ข้อเสียนั้นคือมัน แพงมากๆครับ
มีราคาตั้งแต่ 1000-2000-2400 เยนทีเดียวครับ ราคาสูงตามคุณภาพราคา (ยิ่งแพง หัวคีมจะยิ่งคมและแบน ทำให้ตัดได้ดีมากครับ)
แต่เราก็สามารถใช้คีมตัดสายไฟอันละ 50-60 บาท หรือกรรไกรตัดเล็บของแฟน หรือของคุณแม่ก็ได้ครับ สามารถตัดได้ดีเช่นกันครับ
เหตุผลที่เราไม่ใช้กรรไกรธรรมดาตัด คือใบมีดมันใหญ่มากและต้องการแรงกดมาก ทำให้เราอาจจะตัดพลาดได้ง่าย อันตรายทั้งโม และคนครับ
โดยประสิทธิภาพของคีม Tamiya สามารถชมได้ที่ http://www.thaigundam.com/forum/index.php?topic=70.0 ครับ

2. แผ่นรองตัด

ก็เอาไว้รองเศษ และอื่นๆนั่นแหละครับ

3. ยางลบ, Gundam Marker Remover, ทัชชี่ คลีน

อุปกรณ์เหล่านี้เอาไว้ลบ Marker ครับ ยางลบก็ลบได้นะครับ และเอาไว้เช็ดมาร์กเกอร์ที่เลอะๆเพื่อแต่ง แถมดีด้วย เราไม่ใช้ทิชชู่เพราะมันลื่นครับ
แต่ถ้าเป็นมาร์กเกอร์ที่ทิ้งไว้นานๆมากๆก็คงต้องใช้ Gundam Marker Remover ล่ะครับ ส่วนทัชชี่คลีนนั้น เป็นสุดยอดเทคนิคของคุณ mrjenova
จากที่นี่ครับ http://www.thaigundam.com/forum/index.php?topic=332 Gundam Marker Remover ราคาก็พอๆกับ Gundam Marker ตัดเส้นน่ะครับ
หรือถ้ามักง่าย เราใช้นิ้วบี้เพื่อลบมาร์กเกอร์ได้ด้วยครับ แต่อย่ากดแรงเพราะฝ้าจะขึ้นครับ

4. อาร์ทไนฟ์, กระดาษทราย

จริงๆแล้วมันคือ คัตเตอร์ด้ามกลมนั่นเองครับ เอาไว้เฉือนแต่งเศษพลาสติกที่ตัดไม่หมด แต่ต้องระวังแรงกดด้วยนะครับอาจจะกินเนื้อโมได้
หรือใครจะใช้คัตเตอร์ธรรมดาก็ได้ะครับ แต่จะจับไม่ถนัดเท่า ราคาก็ประมาน 300-400 บาทครับ ส่วนกระดาษทรายหรือตะไบเล็บนั้นไม่แนะนำครับเพราะว่าถ้าเราไม่ทำสีแล้ว
จะเป็นรอยน่าเกลียดครับ

ก็จบแล้วนะครับสำหรับอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการต่อกันพลา เฉพาะ การต่อเฉยๆเพื่อสะสม ไม่ได้รวมถึงการทำสีนะครับ
ส่วนเทคนิคการทำสีแะต่างๆ ขอเชิญที่ http://www.thaigundam.com ครับ มีข้อมูลให้อ่านเพียบครับ

3D Animation

การทำงานของ 3D Animation

หลักการสร้างงานคอมพิวเตอร์ 3D  Animation ในแง่มุมต่างๆ นั้น เป็นการนำหลักการสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบดั้งเดิมมาใช้   หนึ่งในแนวคิดที่สำคัญที่สุดของงาน Animation ดั้งเดิมคือ เรื่องของ “Keyframe” เมื่อได้เนื้อเรื่องที่สมบูรณ์ดีแล้ว  เนื้อเรื่องจะถูกแบ่งออกเป็นฉากๆ    โดยซีเนียร์อะนิเมเตอร์จะวาดท่าหลักๆ ในแต่ละฉาก ซึ่งท่าหลักเหล่านั้นเรียกว่าเป็น keyframe  จากนั้นจะส่งต่อให้จูเนียร์อะนิเมเตอร์วาดท่าทางในแต่ละเฟรม ที่อยู่ระหว่าง keyframe ซึ่งเรียกเฟรมเหล่านั้นว่า “in-between”
in between 3D Animation การทำงานของ 3D Animation
ขั้นตอนการวาด keyframe และ in-between ด้วยมือ เป็นงานที่ต้องลงมือลงแรงมาก  นอกจากนี้ ศิลปินผู้วาดยังไม่สามารถเห็นได้ว่าภาพที่วาดมาทั้งหมดจะรวมกันแล้วเป็นอย่างไร จนกว่าทุกอย่างจะเสร็จสมบูรณ์  สำหรับงาน Animation ที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ ก็ใช้หลักการที่คล้ายคลึงกัน  เริ่มจากกำหนดท่าทางของตัวละครในเฟรมสำคัญๆ แล้วปล่อยให้ซอฟต์แวร์ช่วยสร้าง in-between ให้การทดสอบภาพก็สามารถทำได้ทันทีหลังจากการตั้ง keyframe และดูว่าภาพที่ได้เป็นอย่างไร

ลำดับการทำงาน 3D Animation

โครงการสร้าง 3D  Animation  ขนาดใหญ่จะเป็นไปตามลำดับการทำงานที่เฉพาะเจาะจง   แม้แต่โครงการเล็กๆ ที่มีศิลปินเพียง 1 – 2 คนก็ยังใช้ประโยชน์จากการทำงานตามลำดับขั้นที่โครงงานใหญ่ๆ ที่มีความพร้อมสูงใช้กัน โดยอาจจะนำมาใช้เป็นบางส่วนหรือทั้งหมดเลยก็มี

ขั้นตอนก่อนการผลิต

ก่อนเริ่มดำเนินงาน คณะทำงานจะร่วมกันคิดเนื้อเรื่องและแลกเปลี่ยนความคิดกัน  เมื่อได้เนื้อเรื่องแล้ว ก็จะมีการเขียน Storyboard เพื่อแสดงฉากต่างๆ ออกมาเป็นรูปภาพ   Storyboard จะเป็นเหมือนกระดานแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างการประชุมเกี่ยวกับเนื้อเรื่อง เมื่อ Storyboard เสร็จสมบูรณ์ก็จะมีการประชุมหลักสำหรับกลุ่ม Animator  ณ จุดนี้ ศิลปินจะเริ่มออกแบบตัวละครและภาพพื้นหลังของฉากต่างๆ   คณะทำงาน
ในขั้นตอนก่อนการผลิตนี้จะตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการโดยรวมด้วย อาทิ จะใช้โปรแกรม หรือฮาร์ดแวร์อะไรในการทำงาน ควรมีการบันทึกไฟล์ข้อมูลสำรองบ่อยแค่ไหน และอย่างไร ระบบการตั้งชื่อไฟล์เป็นอย่างไร งบประมาณและตารางเวลาของศิลปินแต่ละคน  รวมถึงการมอบหมายงาน
ในการวางแผนงาน คณะทำงานในขั้นตอนก่อนการผลิตจะทำงานแบบย้อนหลังจากผลลัพธ์สุดท้าย  ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผลลัพธ์สุดท้ายที่จะได้ออกมาคือ วีดิโอ พวกเขาจะต้องกำหนดก่อนว่าจะต้องใช้ฮาร์ดแวร์และโปรแกรมใด
เพื่อบันทึกภาพที่ตัดต่อแล้วให้ออกมาเป็นวีดิโอ  อุปกรณ์ที่คัดเลือกมาโดยเฉพาะเพื่อทำงานกับผลลัพธ์ที่เจาะจงและรูปแบบของไฟล์ที่ต้องการ   คณะทำงานต้องเลือกฮาร์ดแวร์และโปรแกรมสำหรับงาน Animation ที่สามารถ Render
ภาพออกมาในรูปแบบที่สามารถจะทำงานกับระบบตัดต่อภาพได้ และต้องแน่ใจว่าศิลปินสามารถใช้งานโปรแกรมนั้นเพื่อสร้างงาน Animation ได้ตามที่เขียนไว้ใน Storyboard มันไม่ใช่เรื่องปกตินักที่คณะทำงานจะขอให้มีการเปลี่ยนแปลง Storyboard เฉพาะส่วนเมื่อเห็นว่าเป็นเรื่องยากหรือเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้าง Animation ด้วยโปรแกรมที่เลือกมาให้เป็นไปตาม Storyboard ได้ หรือฉากเคลื่อนไหวที่ง่ายกว่า มีความคล้ายคลึงกันและสามารถใช้แทนกันได้

ขั้นตอนการ Render ภาพ

การ Render เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการผลิต  แต่การวางแผนการทำงานของขั้นตอนนี้ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่ในขั้นตอนก่อนการผลิตและต่อเนื่องมาถึงขั้นตอนการผลิต    มีปัจจัยหลายอย่างที่เราต้องคำนึงถึงเพื่อเตรียมการ Render ฉากหรือภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ ได้แก่

Frame rate (จำนวนเฟรมต่อวินาที)

ภาพตัวอย่างจะมีความถูกต้องสมจริงแค่ไหนขึ้นอยู่กับการกำหนดจำนวนเฟรมต่อวินาทีที่เหมาะสม   สื่อประเภทวีดิโอในระบบ NTSC ซึ่งใช้แพร่หลายในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาเล่นที่ความเร็ว 30 fps (frame per second ) ในขณะที่แถบยุโรปและเอเชียใช้ระบบ PAL ซึ่งใช้ 25 fps   ส่วนภาพยนตร์จะเล่นที่ 24 fps  และสื่อสำหรับเว็บอาจเล่นที่ 12 fps หรือต่ำกว่านั้น

ความเร็วของการ Render

Effects ที่แปลกใหม่สะดุดตา อาจดูดี แต่ก็ต้องใช้เวลาในการ Render นานเกินไป  จึงต้องหาวิธีการที่มีความรวดเร็วขึ้น    คุณอาจไม่รู้สึกเดือนร้อนอะไรถ้าต้องใช้เวลา 10 นาทีต่อการ Render  1 เฟรมที่มีองค์ประกอบมากมาย แต่ถ้า Animation เรื่องนั้นยาว 1 นาทีโดยใช้ความเร็วที่ 30 fps (ซึ่งเท่ากับ 1800 เฟรม) จะต้องใช้เวลานานถึง  300  ช.ม. หรือ 12 วันครึ่งเลยทีเดียว  การใช้ 3ds Max Render ในระบบเครือข่าย อาจช่วยลดเวลาได้บ้าง แต่ก็ยังต้องประเมินจำนวนทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อคำนวณเวลาและดูความเป็นไปได้ในการสร้างผลงานให้เสร็จสิ้นลงได้

ความละเอียดของการ Render

สำหรับภาพยนตร์ที่มีความละเอียดสูง  เราสามาระมองเห็นรายละเอียดต่างๆได้อย่างชัดเจนบนจอภาพขนาดใหญ่    ส่วนฉากที่ Render โดยใช้ความละเอียดต่ำ จะมีรายละเอียดบางส่วนที่ต้องสูญเสียไป   การ Render สำหรับผลงานสิ่งพิมพ์จะต้องมีการคำนวณค่าเป็นจำนวนจุดต่อนิ้ว (dpi) เช่นภาพขนาด 8 x 6 นิ้ว ความละเอียด 300 dpi  จะต้อง Render ด้วยความละเอียดอย่างน้อย 2400 x 1800 pixel เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัด

นามสกุลไฟล์

ลักษณะของไฟล์ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ที่ต้องการและฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการผลิตงาน   ฮาร์ดแวร์สำหรับสร้างภาพยนตร์หรือวีดิโอจะมีการกำหนดสกุลไฟล์และความละเอียดที่เหมาะสมไว้แบบหนึ่ง ในขณะที่ผลงานสำหรับเว็บ สกุลไฟล์ขึ้นอยู่กับเครื่องเล่นที่ผู้ใช้โดยส่วนใหญ่จะมี

ขั้นตอนหลังการผลิต

เมื่อส่วนประกอบในการผลิตเสร็จเรียบร้อย ผลงานขั้นสุดท้ายจะถูกนำไปตัดต่อ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนหลังการผลิต   การซ้อนภาพก็อยู่ในขั้นตอนนี้ด้วยสำหรับผลงานที่อยู่ในรูปของภาพยนตร์หรือวีดิโอ  การใส่ Special Effectsถือเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนหลังการผลิต   องค์ประกอบที่เป็น 3 มิติ เทคนิคภาพเรืองแสง การใช้ Particles  การระเบิด ฯลฯ จะถูกนำมาใส่รวมไว้ในแผ่นฟิล์ม ด้วยซอฟต์แวร์สำหรับงาน Effects  อย่าง Combustion ในการสร้างงาน 3 มิติ  การเพิ่ม Effects อาจอยู่ในขั้นการผลิตหรือหลังการผลิตก็ขึ้นอยู่กับว่า Effects นั้นมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ 3 มิติ (เช่น ลอยอยู่รอบๆ ตัววัตถุ) หรือไม่ ถ้าต้องมีปฏิสัมพัน์กับวัตถุ 3 มิติ  Effects ก็จะสร้างขึ้นในขั้นตอนการผลิต แต่ถ้าไม่มีหรือจำเป็นต้องมีการทำงานด้าน Effects เพิ่มเติมก็จะไปทำในขั้นตอนหลังการผลิตเมื่อทำการตัดต่อเรียบร้อยแล้ว ผลงานจะถูกแปลงมาไปสู่รูปแบบที่ต้องการ เช่น ภาพยนตร์ , วีดิโอ , สิ่งพิมพ์ หรือไฟล์ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น

การ์ตูน ( Cartoon ) ความหมายการ์ตูน

การ์ตูน ( Cartoon ) ความหมายการ์ตูน
การ์ตูนเป็นคำที่มาจากซีกโลกตะวันออก มีคนให้นิยามไว้มากมาย พอจะสรุปได้ดังนี้
1. ภาพวาดในลักษณะที่ไม่เหมือนจริง แต่มีเค้าโครงรูปลักษณะมาจากของจริง
2. ผลงานภาพวาดที่สร้างสรรค์ขึ้นอย่างง่ายๆรวดเร็วจากสิ่งที่ได้พบเห็นรอบตัว
3. การสร้างสรรค์งานศิลปะอย่างเรียบง่ายเพื่อสื่อความเข้าใจระหว่างกัน โดยใช้รูปทรง เรขาคณิตรูปทรงอิสระ เพื่อใช้ ประโยชน์ในการสื่อความหมาย
4. การวาดภาพที่ใช้จินตนาการของผู้วาดกับเค้าโครงความจริงที่พบเห็นให้ออกมาเป็นงานศิลปะ
ซึ่งจะสรุปความหมายของการ์ตูนได้คือ ศิลปะการวาดภาพที่ผสมผสานกับจินตนาการของ
ผู้วาด เพื่อสื่อความหมายโดยอาศัยรูปทรง ธรรมชาติที่ พบเห็นแล้วดัดแปลงแก้ไขตัดทอน รายละเอียดที่ไม่ต้องการเพื่อให้เข้าใจระหว่างกัน

ขั้นตอนในการผลิตงานสำหรับทำการ์ตูนแอนิเมชัน
ขั้นตอนการผลิตงานสำหรับทำการ์ตูนแอนิเมชันโดยทั่วไปแล้วมีพื้นฐานดังต่อไปนี้
ไอเดีย ( Idea ) หรือบางคนอาจใช้คำว่า รงบันดาลใจ ( Inspiration )
ซึ่งจะเป็น สิ่งแรกที่เราสร้างสรรค์จินตนาการและ ความคิด ของเราว่าผู้ชมของเราควรเป็นใคร อะไรที่เรา ต้องการ ให้ผู้ชมทราบ ภายหลัง จากที่ชมไปแล้ว ควรให้เรื่องที่เราสร้า ออกมา เป็นสไตล์ไหน ซึ่งอาจจะมาจาก ประสบการณ์ ที่เราได้อ่านได้พบเห็น และสิ่งต่างๆ รอบตัวเป็นต้น
โครงเรื่อ ง ( Story ) โครงเรื่องจะประกอบไปด้วยการเล่าเรื่องที่บอกถึงเนื้อหาเรื่องราวทุกอย่างในภาพยนตร์ทั้งตัวละคร ลำดับเหตุการณ์ ฉาก แนวคิด และที่สำคัญเราควรพิจารณาว่าการเล่าเรื่องควรจะมีการหักมุมมากน้อยเพียงไร สามารถ สร้างความ บันเทิงได้หรือไม่ และความน่าสนใจนี้สามารถทำให้ผู้ชมรู้สึกประทับใจ จนสามารถระลึกในความทรงจำ และทำให้คนพูดถึง ตราบนานเท่านานหรือเปล่า
สคริปต์ ( Script ) เป็นขั้นตอนในการจับใจความสำคัญของเนื้อเรื่องให้ออกมาในแต่ละฉาก พร้อมทั้งกำหนดมุมกล้อง เทคนิคพิเศษ รวมถึงระยะเวลาของการเคลื่อนไหว โดยให้รายละเอียดต่างๆเช่น  ผู้จัดทำ เสียงดนตรี ( Musidcians ) เสียงประกอบ ( Sound Effects ) จิตกรในการวาดหรือนักออกแบบตัวละคร ( Artists ) และแอนิเมเตอร์ ( Animators ) สร้างภาพให้กับตัวละคร( Characters Design ) ขั้นตอนนี้เป็นการออกแบบและกำหนดลักษณะนิสัย บุคลิกบทบาทต่างๆ และท่าทางการเคลื่อนไหว ให้กับตัวละคร โดยอาศัยองค์ประกอบพื้นฐานของการออกแบบ ได้แก่ ขนาด ( Size ) รูปทรง ( Shape ) และสัดส่วน ( Proportion )
บอร์ดภาพนิ่ง หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า สตอรีบอร์ด ( Storyboards ) เป็นการใช้ภาพในการเล่าเรื่องให้ได้ครบถ้วน ทั้งเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นอารมณ์ในเหตุการณ์นั้นๆสีหน้า ท่าทาง ลักษณะต่างๆของตัวละครบอกถึงสถานที่ และมุมมองของภาพ ซึ่งภาพวาดทั้งหมด จะเรียงต่อเนื่องเป็นเหตุผลกัน เมื่อดูแล้วสามารถเข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน

บันทึกเสียง ( Sound Recording ) หลังจากที่เราได้ออกแบบตัวละครและสร้างสตอรีบอรด์เรียบร้อยแล้ว เราก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการอัดเสียง ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างยิ่ง บางสตูดิโออาจจะเริ่มต้นด้วยการอัดเสียง Soundtrack ก่อน ซึ่งการอัดเสียงประกอบแอนิเมชันจะแยกออกเป็นประเภทของเสียงโดยหลักแล้วจะมีดังนี้คือ
– เสียงบรรยาย ( Narration ) เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเข้าใจ เป็นการปูพื้นฐานให้กับผู้ชมว่าเรื่องเป็นอย่างไร และยังเป็นการเชื่อมโยงให้เรื่องราวติดต่อกันด้วย
– บทสนทนา ( Dialogue ) เป็นหลักการหนึ่งในการสื่อเรื่องราวตามบทบาทของตัวละคร เป็นการสื่อความหมายให้ตรง ตามเนื้อเรื่องที่สั้น กระชับ และสัมพันธ์กับภาพ
– เสียงประกอบ ( Sound Effects ) เป็นเสียงที่นอกเหนือจากบรรยาย เสียงสนทนา เสียงประกอบจะทำให้เกิดรู้สึก สมจริงสมจัง มีจินตนาการเช่น เสียงระเบิด เสียงฟ้าร้อง เป็นต้น ราวกับได้เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์หรือสถานที่นั้นด้วย
– ดนตรีประกอบ ( Music ) ช่วยสร้างอารมณ์ของผู้ชมให้คล้อยตามเนื้อหาและปรับอารมณ์ของผู้ชมระหว่างการเชื่อมต่อของฉากหนึ่งไปยังอีกฉากหนึ่งได้ด้วย
ตรวจความเรียบร้อยของแอนิเมชั่น ( Animatic Checking ) Animatic คือการนำภาพที่วาดโดยช่างศิลป์ตามแนวคิด สร้างสรรค์มาประกอบกันเข้าเป็นเรื่องราวพร้อมเสียง ประโยชน์ของการทำ Animatic คือเวลานำเสนองานงานแอนิเมชั่นเบื้องต้น จะไม่หยาบเกินไปสามารถสื่อแนวคิดหลักใหญ่ๆ ช่วยให้นักสร้างสรรค์สามารถทบทวนแนวความคิดก่อนที่จะผลิตเป็น ภาพยนตร์ทบทวนกรอบเวลา การดำเนินเรื่องราวเหตุผลที่สามารถอธิบายได้อย่างต่อเนื่อง สามารถปรับแต่งเพิ่มเติมภาพหรือ ตัดเข้าสู่ฉากอื่นได้ทันที เพื่อให้ได้งานที่มีอารมณ์จังหวะ และองค์ประกอบที่ใกล้เคียงก่อนการทำแอนิเมชั่น

ปรับแต่งชิ้นงาน ( Refining the Animation ) หลังจากที่เราได้ทำ Animatic แล้วจะต้องนำไปปรับปรุงและ ตกแต่งแก้ไขสตอรีบอร์ด และขั้นตอนอื่นๆ โดยละเอียด เช่น ลักษณะงานศิลป์ ( Character Art ) ฉากหลัง ( Background ) เสียง( Sound ) เวลา ( Timeing ) และส่วนประกอบอื่นๆจนกระทั่งเข้าสู่การผลิตงานแอนิเมชั่นต่อไป โดยการวาดเส้นด้วยคอมพิวเตอร์ การลงสีฉากและตัวละคร ภาพประกอบและเสียงต่อไป ( Composting )ซึ่งในอดีตการปรับเปลี่ยนแผนงานการทำ ภาพยนตร์การ์ตูน มีค่าใช้จ่ายสูง แต่ในปัจจุบันนี้ได้นำระบบดิจิตอลคือคอมพิวเตอร์นั่นเองเข้ามาช่วยในการสร้างงานแอนิเมชั่นทำให้ประหยัด ค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น
การเล่าเรื่องด้วยภาพ
การสื่อความหมายแทนที่จะบรรยายด้วยข้อความเรากลับใช้ภาพเป็นตัวเล่าเรื่อง ดังนั้นการจัดลำดับภาพจะต้องแสดงให้เห็นถึง ความต่อเนื่องของการกระทำ ( Action Continuity ) ซึ่งมีหลักการพื้นฐานสองข้อคือ
ก. ถ้าวัตถุมีการเคลื่อนไหว จะต้องคำนึงถึงความต่อเนื่องของการกระทำ ( Action Continuity )ซึ่งจะทำให้การเคลื่อนไหวนั้น ไม่ผิดธรรมชาติ
ข. ถ้าวัตถุไม่มีการเคลื่อนไหว สามารถนำภาพซึ่งเป็นเหตุการณ์ในเวลาต่อมามาใช้ได้
มุมมองของภาพ
การเล่าเรื่องด้วยภาพในงานแอนิเมชั่น  ความหมายที่เกิดจากการใช้ขนาดภาพ  มุมกล้อง  การเคลื่อนที่ ล้วนเป็นภาษาสากลซึ่งคนทั้งโลกดูแล้วเข้าใจได้ตรงกัน  คนส่วนใหญ่สื่อสารกับภาษาภาพในภาพยนตร์โดยไม่รู้ตัว  แต่สำหรับคนที่ต้องทำงานอยู่เบื้องหลังแล้วการไม่รู้หลักการใช้ภาพในการสื่อสารความหมายและอารมณ์ความรู้สึกก็คงไม่ต่างจากคนที่ขับรถโดยไม่รู้ว่าอุปกรณ์ต่างๆในรถมีหน้ที่ทำงานอย่าางไร
บทภาพ คือภาษาเขียนในบทแอนิเมชั่นจะถูกแปลเป็นภาษาภาพ  โดยเน้นให้ได้ความหมายที่ชัดเจน  ควบคู่ไปกับอารมณ์ของภาพที่ทะลุทะลวงไปยังผู้ชม  ไม่ว่าเศร้า  ตื่นเต้น  น่ากลัว ชวนหัว  หรืออื่นๆ
องค์ประกอบหลักๆ ในภาษาภาพมีอยู่สามอย่าง ได้แก่  หนึ่ง ขนาดภาพ ซึ่งจะว่าไปแล้วก็อาจเปรียบได้กับพยัญชนะในภาษาไทยสอง มุมกล้อง ซึ่งอาจเปรียบได้กับสระ และสาม การเคลื่อนกล้อง ซึ่งก็คงเหมือนกับวรรณยุกต์ เมื่อนำองค์ประกอบทั้งสามมาประกอบเข้าด้วยกัน ก็จะได้หนึ่งภาพ เป็นเสมือนหนึ่งคำที่สมบูรณ์ด้วยความหมายและอารมณ์ความรู้สึก
1. ภาพไกลมาก หรือ Extreme Long Shot (EXS)
เป็นขนาดภาพที่กว้างไกลมาก ขนาดภาพนี้มักใช้ในฉากเปิดเครื่องหรือเริ่มต้นเพื่อบอกสถานที่ว่า
เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ไหน ปกติฉากที่เปิดโดยใช้ภาพขนาดนี้มักมีขนาดกว้างใหญ่ เช่นมหานครซึ่งเต็มไปด้วยหมู่ตึกสูงเสียดฟ้า, ท้องทะเลกว้างสุดลูกหูลูกตา, ขุนเขาสูงตระหง่าน,ฉากการประจันหน้ากันในสงคราม, ฉากการแสดงมหกรรมคอนเสิร์ต ฯลฯ     จุดเด่นของภาพ Extreme  Long  Shot อยู่ตรงความยิ่งใหญ่ของภาพ  ซึ่งสามารถสร้างพลังดึงดูดคนดูไว้ได้เสมอ
2. ภาพไกล หรือ Long Shot (LS)
เป็นขนาดภาพที่ย่อมลงมาจากภาพ Extreme  Long  Shot คือ กว้างไกลพอที่จะมองเห็นเหตุการณ์ โดยรวมทั้งหมดได้  เมื่อดูแล้วรู้ได้ทันทีว่าในฉากนี้ ใครทำอะไร  อยู่ที่ไหนกันบ้างเพื่อให้คนดูไม่เกิดความสับสนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวละครในฉากนั้นๆ ถือเป็นขนาดภาพที่เหมาะกับการเปิดฉาก หรือเปิดตัวละคร  เพื่อให้เห็นภาพรวม  ก่อนที่จะนำคนดูเข้าไปใกล้ตัวละครมากขึ้นในช็อต (Shot) ต่อไป     แต่ในขณะที่เหตุการร์ดำเนินไป  เราก็ยังสามารถใช้ภาพ Long Shot ตัดสลับกับภาพขนาดอื่นๆได้เช่นกัน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในเรื่อง  ถ้าเป็นช่วงที่ต้องการแสดงให้เห้ท่าทางของตัวละครมากกว่าอารมณ์สีหน้าก็ควรใช้ภาพขนาดนี้
3. ภาพปานกลาง หรือ Medium Shot (MS)
เป็นภาพที่คนดูจะไม่ได้เห็นตัวละครตลอดทั้งร่างเหมือนภาพ Long Shot แตจะเห็นประมาณครึ่งตัว  เป็นขนาดภาพที่ทำให้รายละเอียดของตัวละครมากยิ่งขึ้น  เหมือนพาคนดูก้าวไปใกล้ตัวละครให้มากขึ้น  ภาพขนาดนี้ถูกใช้บ่อยมากกว่าภาพขนดอื่นๆ เพราะสามารถให้รายละเอียดได้มากไม่น้อยเกินไปคือคนดูจะได้เห็นทั้งท่าทางของตัวละคร  และอารมณ์ที่ฉายบนสีหน้าไปพร้อมๆกัน
4. ภาพใกล้หรือ Close up (CU)
เป็นขนาดภาพที่เน้นใบหน้าตัวละครโดยเฉพาะ เพื่อแสดงอารมณ์ของตัวละครในขณะนั้นว่า
รู้สึกอย่างไรต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ภาพขนาดนี้มักมีการเคลื่อนไหวน้อย เพื่อให้คนดูเก็บรายละเอียด
ได้ครบถ้วนคลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่
4. ภาพใกล้.หรือ Extreme Close up (CU)
เป็นขนาดภาพที่ตรงกันข้ามชนิดสุดขั้วกับภาพ Extreme Long Shot คือจะพาคนดูเข้าไปใกล้
ตัวละครมากๆ เช่น แค่ตา ปาก จมูก เล็บ รวมเปถึงการถ่ายสิ่งของอื่น ๆ อย่างชิดติด เพื่อให้เห็นรายละเอียดกันอย่างจะแจ้ง เช่น ก้อนนำแข็งในแก้ว, หัวแหวน, ไกปืน เป็นต้น เป็นต้น การเลือกใช้ขนาดของภาพต้องให้มีความหลากหลาย ระวังอย่าใช้ภาพที่มีขนาดเท่ากันมาเรียงต่อกันบ่อยๆ เพราะจะทำให้งานดูไม่น่าสนใจวิธีที่ดีที่สุดในการศึกษาการใช้ขนาดภาพ คือหาภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่โปรดปรานมาสักเรื่องเปิดดูอย่างช้าๆ ค่อยๆเรียนรู้วิธีการใช้ขนาดภาพ ลองวิเคราะห์ดูว่าทำไมเขาถึงเลือกใช้ขนาดภาพแบบนั้น รับรองในไม่ช้า คุณจะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้นมากที่เดียว
บอร์ดภาพนิ่งหรือ สตอรี่บอร์ด (Story Board) สตอรี่บอร์ดคือการเตรียมการนำเสนอข้อความ ภาพ รวมทั้งสื่อในรูปแบบ มัลติมีเดียต่างๆ ลงบนกระดาษ การนำเสนอเนื้อหาและลักษณะการนำเสนอ ขั้นตอนการสร้างสตอรี่บอร์ดรวมไปถึงการเขียนสคริปต์ (สคริปต์ในที่นี้คือ เนื้อหาข้อความในบทเรียน) ที่ผู้เรียนจะได้เห็นบนหน้าจอซึ่งได้แก่ เนื้อหา ข้อมูล คำถาม ผลย้อนกลับ คำแนะนำ คำชี้แจง ข้อความเรียกความสนใจ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว (ถนอมพร เลาหจรัสแสง , 2541 : 32 ) การจัดทำสตอรี่บอร์ดที่มีลักษณะมัลติมีเดียนั้นจะต้องมีการออกแบบภาพ ข้อความ เสียง และการเคลื่อนไหวให้เข้ากับเนื้อหาบทเรียน ซึ่งจะต้องผ่านกระบวนการทำงานที่เป็นมาตรฐานในการคิด การสร้างสตอรี่บอร์ดเริ่มต้นด้วย การทำแบบร่างและการจัดวางเบื้องต้น โดยการร่างแบบคือการวาดเพื่อถ่ายทอดความคิดเบื้องต้นด้วยดินสอ หรือปากกาด้วยลายเส้นง่ายๆ หรือใช้คอมพิวเตอร์ในการร่างแบบ เพื่อให้การนำเสนอข้อความและสื่อในรูปแบบต่างๆเหล่านี้เป็นไปอย่างเหมาะสมตามลำดับขั้นตอนบนจอคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ (อังกฤษ: computer graphics) คือภาพหรือลวดลายที่มองเห็นได้ที่สร้างขึ้นหรือถูกจัดเก็บและนำมาแสดงผลโดยใช้คอมพิวเตอร์ภาพรวมคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ หรือในศัพท์บัญญัติว่า เรขภาพคอมพิวเตอร์ เรียกย่อ ๆ ว่า ซีจี (CG) คือ การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โดยข้อมูลเข้าเป็นข้อมูลตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญญานต่าง ๆ โดยการสร้างแบบจำลอง (modeling) ตามด้วย การสร้างเป็นภาพสุดท้ายหรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการให้แสงและเงา (rendering) แสดงผลลัพธ์ทางจอภาพเป็นข้อมูลเชิงเรขาคณิต เช่น รูปทรง สีสัน ลวดลาย หรือ ลักษณะแสงเงา รวมถึง ข้อมูลอื่น ๆ ของภาพ เช่น ข้อมูลการเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลง ลักษณะการเชื่อมต่อ และ ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุหรือสิ่งของในภาพ รวมไปถึงการศึกษาด้านระบบในการแสดงภาพ ทั้งสถาปัตยกรรมของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เชื่อมต่อ หรือ อุปกรณ์ในการนำเข้า และ แสดงผล ปัจจุบันมีการประยุกต์ เรขภาพคอมพิวเตอร์ใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น การสร้างภาพเคลื่อนไหวในงานภาพยนตร์ เกม สื่อประสมภาพและเสียง ศึกษาบันเทิง หรือ ระบบสร้างภาพความจริงเสมือน เป็นต้น
คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ 3 มิติ
คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ 3 มิติ คือภาพที่สร้างขึ้นจากการจำลองตัวแบบ 3 มิติ โดยใช้การคำนวณต่าง ๆ เช่น พีชคณิตเชิงเส้น ตรีโกณมิติ จากนั้นวาดภาพกลับบนระนาบ 2 มิติ หรือบน 3D Projection หรืออาจหมายถึงการคำนวณอื่นๆเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปร่างของโมเดล 3 มิติสตอปโมชัน (Stop motion) เป็นแอนิเมชันที่อะนิเมะเตอร์ต้องสร้างส่วน ประกอบต่างๆ ของภาพขึ้นด้วยวิธีอื่น นอกเหนือจากการวาดบนแผ่นกระดาษ หรือแผ่นเซล และยังต้องยอมเมื่อยมือ ขยับรูปร่างท่าทางของส่วนประกอบเหล่านั้นทีละนิดๆ แล้วใช้กล้องถ่ายไว้ทีละเฟรมๆ
เทคนิค
สต็อปโมชั่นมีเทคนิคทำได้หลากหลาย เช่นเคลย์แอนิเมชัน (Clay animation –เรียกย่อๆ ว่า เคลย์เมชั่น / claymation) คือแอนิเมชันที่ใช้หุ่นซึ่งทำจากดินเหนียว ขี้ผึ้ง หรือวัสดุใกล้เคียง โดยใส่โครงลวดไว้ข้างในเพื่อให้ดัดท่าทางได้คัตเอาต์แแอนิเมชัน (Cutout animation) สมัยก่อนแอนิเมชันแบบนี้ทำโดยใช้วัสดุ 2 มิติ (เช่น กระดาษ, ผ้า) ตัดเป็นรูปต่างๆ และนำมาขยับเพื่อถ่ายเก็บไว้ทีละเฟรม แต่ปัจจุบันใช้วิธีวาดหรือสแกนภาพเข้าไปขยับในคอมพิวเตอร์ได้เลย

กราฟิกแอนิเมชัน (Graphic animation)
เป็นอีกเทคนิคที่น่าสนใจไม่เบา เกิดจากการนำกล้องมาถ่ายภาพนิ่งต่างๆ ที่เราเลือกไว้ (จะเป็นภาพจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ฯลฯ ก็ได้) ทีละภาพ ทีละเฟรม แล้วนำมาตัดต่อเข้าด้วยกันเหมือนเทคนิคคอลลาจ (collage – ปะติด) โดยอาจใช้เทคนิคแแอนิเมชันแบบอื่นมาประกอบด้วยก็ได้โมเดลแอนิเมชัน (Model animation) คือการทำตัวละครโมเดลขึ้นมาขยับ แล้วซ้อนภาพเข้ากับฉากที่มีคนแสดงจริงและแบ็คกราวด์เหมือนจริง

แอนิเมชันที่เล่นกับวัตถุอื่นๆ (Object animation)
ไม่ว่าจะเป็นของเล่น หุ่น ตุ๊กตา ตัวต่อเลโก้ ฯลฯ อะไรก็ตามที่ไม่ใช่วัสดุซึ่งดัดแปลงรูปร่างหน้าตาได้แบบดินเหนียวพิกซิลเลชั่น (Pixilation) เป็นสต็อปโมชั่นที่ใช้คนจริงๆ มาขยับท่าทางทีละนิดแล้วถ่ายไว้ทีละเฟรม เทคนิคนี้เหมาะมากถ้าเราทำแอนิเมชันที่มีหุ่นแสดงร่วมกับคน และอยากให้ทั้ง หุ่นทั้งคนดูคลื่อนไหวคล้ายคลึงกัน หรือที่อยากได้อารมณ์กระตุกๆคอมพิวเตอร์แอนิเมชัน (computer animation นิยมอ่านในภาษาไทยว่า คอม-พิ้ว-เต้อ-แอ-นิ-เม-ชั่น) คือการสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์โดยอาศัยเครื่องมือ ที่สร้างจากแนวคิดทางคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ช่วยในการสร้าง ดัดแปลง และให้แสงและเงาเฟรมตลอดจนการประมวลผลการเคลื่อนที่ต่าง ๆ เช่นการประมาณตำแหน่งในช่วงการเคลื่อนที่ การจับภาพการเคลื่อนที่ การตรวจแก้การเคลื่อนที่ การสร้างแบบจำลองการเคลื่อนที่เป็นต้น
ตั้งแต่ช่วงปีค.ศ. 1970 เป็นต้นมาถึงปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์กราฟิกส์เข้ามาช่วยในการสร้างภาพเคลื่อนไหว เป็นวิธีที่สามารถสร้างภาพที่สมจริงขึ้น ซับซ้อนขึ้น หรือ ต้นทุนต่ำกว่าการสร้างภาพด้วยมือ เช่น ในภาพยนตร์การ์ตูน หรือหนังภาพยนตร์อย่าง สตาร์วอร์ หรือจูราสติกพาร์ก มีการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ช่วยสร้างภาพที่อยู่ในจินตการของคนเรานั้น ออกมาให้เห็นได้อย่างสวยงามและสมจริงนอกเหนือจากนั้นประโยชน์ของ การสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์ มีทั้งใน การจำลองทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การจราจรคมนาคมการบิน สถาปัตยกรรม การวิจัยดำเนินงาน เกมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
สำหรับในประเทศไทยภาพยนตร์ที่ใช้คอมพิวเตอร์แอนิเมชันเข้ามาใช้เป็นเรื่องแรกของประเทศไทยคือ ปักษาวายุ] ส่วนการ์ตูนคือ ปังปอนด์ ดิ แอนิเมชันในขณะที่ภาพยนตร์แอนิเมชันขนาดยาวเรื่องแรกของไทยคือ การ์ตูนสุดสาครของปยุต เงากระจ่างฉบับ ปีพ.ศ. 2522

จุดกำเนิดและประเภทของแอนิเมชั่น

จุดกำเนิดและประเภทของแอนิเมชั่น
แอนิเมชั่นถือกำเนิดขึ้นมาจากหลักการเรื่องภาพติดตา โดยเมื่อเราเห็นภาพนิ่งภาพหนึ่งก็จะเกิดการจดจำและเข้าใจว่าภาพนั้นๆคืออะไรแล้วเมื่อลองนำเอาภาพนิ่งหลายๆภาพมาเล่นติดต่อกันด้วยความเร็วอย่างเช่น 25 ภาพต่อ 1 วินาที เราก็จะรู้สึกได้ว่าเรากำลังเห็นภาพเคลื่อนไหว แอนิเมชั่นก็ถือกำเนิดมาจากจุดนี้นั่นเอง โดยผู้ที่ทำการทดลองเพื่อพิสูจน์ให้เห็นกันก็คือ พอล โรเจ็ต (Paul Roget) ชาวฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1828 โดยเขาได้ทำสิ่งประดิษฐ์ง่ายๆเป็นแผ่นวงกลมแบนๆเหมือนกระดาษ ด้านหนึ่งวาดรูปนก อีกด้านวาดรูปกรงนกเปล่าๆ แล้วติดกับแกนไม้หรือเชือก เมื่อหมุนด้วยความเร็วก็จะเกิดเป็นภาพนกอยู่ในกรง และแอนิเมชั่นได้ถือกำเนิดอย่างจริงจังขึ้นเมื่อโธมัส อันวาเอดิสัน (Thomas Alva Edison) ประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพยนตร์และเครื่องฉายได้ หลังจากนั้นการสร้างแอนิเมชั่นก็ได้มีวิวัฒนาการมาโดยตลอด โดยแบ่งตามวิธีการสร้างผลงานเป็น 2 ประเภท ได้แก่ แบบดั้งเดิม(Traditional Animation) ซึ่งได้แก่ แอนิเมชั่น 2 มิติ ที่วาดด้วยมือ คัท-เอาท์ แอนิเมชั่น(cut-out animation) ที่เป็นการตัดกระดาษให้เป็นรูปร่างต่างๆ และ Clay Animation หรือ Stop Motion ที่สร้างจากดินน้ำมันหรือวัสดุที่ใกล้เคียงกัน และ แอนิเมชั่นอีกประเภทคือ Digital Computer Animation ที่เกิดจาการสร้างด้วยระบบดิจิตอลทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ (ธรรมศักดิ์ เอื้อรักสกุล , 2547 : 1-7).

วิวัฒนาการของการ์ตูนแอนิเมชั่นจาก 2D สู่ 3D (COMPUTER)
นับจากความสำเร็จของผลงานแอนิเมชั่นขนาดยาวเรื่องแรก ดิสนี่ย์ยังคงสร้างสรรค์ผลงานแอนิเมชั่นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น
Fantasia (1940), Pinocchio (1940), Bambi (1942) , Cinderella (1950) ถึงแม้ว่า วอลท์ ดิสนี่ย์จะจบชีวิตลงแล้ว แต่สตูดิโอดิสนี่ย์ก็ยังคงสร้างผลงานแอนิเมชั่นออกมาอย่างต่อเนื่อง หากทว่ามีน้อยเรื่องนักที่จะประสบความสำเร็จด้วยดี เหมือนอย่างในยุคสมัยแห่งความรุ่งเรื่องเมื่อครั้งอดีต จนกระทั่งในปี 1989 เมื่อสตูดิโอดิสนีย์ ผลิตผลงานเรื่อง the Little Mermaid ออกมา จึงเป็นการเรียกบรรยากาศเดิมๆ ของยุคการ์ตูนคลาสสิคให้กลับคืนมาอีกครั้ง ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปและเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้อุปสรรคต่างๆ ของการทำงานแอนิเมชั่นถูกก้าวข้ามไปได้อย่างง่ายดาย เมื่อคอมพิวเตอร์เริ่มเข้ามีมีบทบาทในการสร้างงานอนิเมชั่นยุคใหม่ ผลก็คือนอกจาก The Little Mermaid จะให้ภาพที่สดใสงดงามมากกว่าแอนิเมชั่นในยุคเดิมแล้วการเคลื่อนไหวของกล้องก็ยังดูแปลกตาและน่าตื่นเต้นกว่าเดิมมากมายนัก อีกสองปีต่อมา วงการแอนิเมชั่นก็ได้สร้างความฮือฮาให้แก่โลกภาพยนตร์อีกครั้ง เมื่อ Beauty and the Beast แอนิเมชั่นเรื่องเยี่ยมในปี 1991 ได้กลายเป็นภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องแรก (และเรื่องเดียว) ที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงออสการ์ ในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ด้วยเรื่องราวที่มีทั้งความสนุกสนาน ตื่นเต้น ความโรแมนติก และความซาบซึ้งกนิใจ ประกอบกับข้อคิดดี ๆ ทิ้งท้าย รวมทั้งดนตรีและเพลงประกอบอันสุดไพเราะ นั่นคงไม่ใช่เรื่องยากที่การ์ตูนเรื่องนี้จะเข้าไปอยู่ในใจของคนหลายคน เป็นที่น่าสังเกตว่า แอนิเมชั่นใหม่มักจะมีฉากเด่นของเรื่องที่จะทำให้ผู้ชมจดจำไม่รู้ลืม เช่น ฉากสัตว์ใต้น้ำพากันเริงระบำใน the Little Mermaid ฉากเต้นรำในท้องโรงของเบลล์กับเจ้าชายอสูร ใน Beauty and the Beast และสำหรับ Aladdin (1992) ฉากเด่นที่ว่านี้คงหนีไม่พ้น ฉากที่อลาดินพาเจ้าหญิงจัสมินนั่งพรมวิเศษล่องลอยไปยังสถานที่ต่างๆ ที่ให้ความรู้สึกเคลิบเคลิ้มเหมือนฝัน ซึ่งคงหาดูได้เฉพาะในงานแอนิเมชั่นเท่านั้น
สตูโอดิสนี่ย์ยังไม่หมดไฟในการสร้างสรรค์งานแอนิเมชั่นแต่เพียงเท่านั้น ในปี 1994 ก็ได้มีผลงานแอนิเมชั่นเรื่องเยี่ยมอีกชิ้นหนึ่งออกฉาย นั่นคือ The Lion King แอนิเมชั่นเรื่องนี้ไม่มีตัวละครที่เป็นมนุษย์ แต่เป็นสัตว์ป่าประเภทต่างๆ (ซึ่งเลียนแบบพฤติกรรม รัก โลภ โกรธ หลง ไม่ต่างจากมนุษย์) นอกจาก The Lion King จะเป็นแอนิเมชั่นที่ทำเงินในระดับสูงแล้ว บรรดาตัวละครต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวเอกหรือตัวประกอบ ต่างก็เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมทั่วไป ผลงานในปีต่อๆมา ของดิสนี่ย์ มีประเด็นทางสังคมที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น Pocahontas (1995) ซึ่งสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติเอาไว้ได้อย่างลงตัว ด้วยเรื่องราวของหญิงสาวชาวอินเดียแดง ที่สอนให้พระออกซึ่งเป็นนักเดินเรือชาวอังกฤษ ได้ตระหนักและมองเห็นคุณค่าของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่วน The Hunchback of Notre Dame (1996) ก็นำเสนอประเด็นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน โดยตัวเอกของเรื่อง เกิดมามีรูปร่างพิการ จึงถูกจับขังให้ทำหน้าที่ตีระฆังบนวิหาร แต่เขาก็มีความใฝ่ฝัน ว่าจะสามารถใช้ชีวิตเป็นปรกติเหมือนมนุษย์คนอื่น ๆ Hercules (1997) เป็นการนำเรื่องราวเทพปกรนำมาเสนอในรูปแบบของแอนิเมชั่น Mulan (1998) มนุษย์คนอื่นๆ Hercules (1997) เป็นการนำเรื่องราวเทพปกรนำมาเสนอในรูปแบบของแอนิเมชั่น Mulan (1998) เป็นเรื่องราวที่มีเนื้อหา ว่าด้วยบทบาทของเพศหญิงในสมัยโบราณ และ Tarzan (1999) ซึ่งถ่ายทอดเรื่องราวของคนกับป่า
การ์ตูนแอนิเมชั่น ยุคใหม่ของดิสนี่ย์ มีการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกเข้ามาช่วย เพื่อเพิ่มความสมจริง และความน่าสนใจให้กับงานด้านภาพมากขึ้น ยิ่งวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์มีความก้าวหน้ามากขึ้นเท่าใด ความมหัศจรรย์ของงานเทคนิคของการ์ตูนแอนเมิชั่นก็มีมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีการสร้างแอนิเมชั่นขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ล้วนๆ อย่างที่เรียกว่า คอมพิวเตอร์แอนิเมชั่น ซึ่งนับว่าเป็นวัตกรรมใหม่ของวงการแอนิเมชั่น ทำให้มีการพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีแนวโน้มว่าจะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น แอนิเมชั่นเรื่อง Troy Story (1995) และ Troy Story 2 (1999), A Bug’s Life (1998) และ Monster. Inc (2001) จนกระทั่งถึง Finding Nemo (2003) ที่ทำให้สตูดิโอ Pixar ผู้ผลิตแอนิเมชั่น 3D เหล่านี้ เริ่มมีบทบาททัดเทียม จนอาจถึงขั้นเหนือกว่าเจ้าพ่อหนังการ์ตูนลายคาม อย่างดิสนีย์

ประวัติแอนิเมชัน

ประวัติแอนิเมชัน     ประวัติแอนิเมชัน    ประวัติแอนิเมชัน    ประวัติแอนิเมชัน   ประวัติแอนิเมชัน  ประวัติแอนิเมชัน[/font][/color]
เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักสร้างภาพยนตร์ชาวญี่ปุ่นเริ่มทดลองใช้เทคนิคการสร้างภาพยนตร์การ์ตูนซึ่งกำลังถูกพัฒนาขึ้นในสหรัฐอเมริกาเพื่อสร้างภาพยนตร์การ์ตูนของตนเอง ในทศวรรษที่ 1970 ภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่นได้พัฒนาลักษณะเฉพาะตัวขึ้นจนสามารถแบ่งแยกออกจากภาพยนตร์การ์ตูนของสหรัฐอเมริกาได้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่นภาพยนตร์การ์ตูนหุ่นยนต์ยักษ์ซึ่งไม่สามารถหาได้ในสหรัฐอเมริกาเลย ในทศวรรษที่ 1980 อะนิเมะได้รับความนิยมกว้างขวางในญี่ปุ่น ทำให้ธุรกิจการสร้างอะนิเมะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และในทศวรรษที่ 1990 และ 2000 ชื่อเสียงของอะนิเมะได้แพร่ขยายไปยังนอกประเทศญี่ปุ่น พร้อมๆ กับการขยายตัวของตลาดอะนิเมะนอกประเทศ
คำศัพท์
“อะนิเมะ” (アニメ) เป็นคำย่อของ アニメーション ซึ่งเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอังกฤษ (สังเกตได้ว่าเขียนเป็นคะตะคะนะ) “แอนิเมชัน” (animation) ซึ่งหมายความถึงภาพยนตร์การ์ตูน คำทั้งสองคำนี้สามารถใช้แทนกันได้ในภาษาญี่ปุ่น อย่างไรก็ดีรูปย่อเป็นที่นิยมใช้มากกว่า คำว่า “อะนิเมะ” มีขอบเขตกว้างครอบคลุมภาพยนตร์การ์ตูนทั้งหมด ไม่จำกัดอยู่ที่แนวหรือรูปแบบของภาพยนตร์การ์ตูนใดๆ
“เจแปนิเมชัน” (Japanimation) ซึ่งเกิดจากการผสมคำว่า “เจแปน” (Japan) กับ “แอนิเมชัน” เป็นคำอีกคำที่มีความหมายเหมือน “อะนิเมะ” คำนี้นิยมใช้กันมากในทศวรรษที่ 1970 และ 1980 แต่มีคนใช้น้อยลงตั้งแต่ปี 1990 และหมดความนิยมลงก่อนกลางทศวรรษที่ 1990 ในปัจจุบันคำนี้ถูกใช้อยู่แค่ในประเทศญี่ปุ่นเพื่อแบ่งแยกระหว่างภาพยนตร์การ์ตูนทั่วๆ ไป (ซึ่งคนญี่ปุ่นเรียกรวมๆ ว่า “อะนิเมะ”) และภาพยนตร์การ์ตูนที่ผลิตภายในประเทศ
ภาษาไทยในสมัยก่อนใช้คำว่า “ภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่น” แทนอะนิเมะ คำทับศัพท์ “อะนิเมะ” นั้นไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้ แต่ปัจุบันคำว่า “อะนิเมะ” หรือ “อะนิเมะ” นั้นกลับเป็นคำที่นิยมในหมู่เด็กวัยรุ่นไทยที่ชื่นชอบการ์ตูนญี่ปุ่น ใช้เรียกแทนคำว่า”ภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่น”ของสมัยอดีต
ลักษณะเฉพาะตัว
ตัวอย่างตัวละครอะนิเมะ “วิกิพีตัง”
ถึงแม้อะนิเมะแต่ละเรื่องจะมีลักษณะทางศิลปะเฉพาะตัวซึ่งขึ้นอยู่กับศิลปินแต่ละคน โดยรวมแล้วเราอาจกล่าวได้ว่าลักษณะเฉพาะตัวของอะนิเมะคือการใช้ลายเส้นที่คม และสีสันที่สดใส มาประกอบเป็นตัวละครที่มีรายละเอียดสูง ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของอะนิเมะคือความหลากหลายของแนวเรื่องและกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ ผิดกับภาพยนตร์การ์ตูนของฝั่งตะวันตกที่เกือบทั้งหมดมียุวชนเป็นกลุ่มเป้าหมาย
อะนิเมะมีอยู่หลายแนวเช่นเดียวกับภาพยนตร์ ยกตัวอย่างเช่น แอคชัน, ผจญภัย, เรื่องสำหรับเด็ก, ตลก, โศกนาฏกรรม, อีโรติก (ดูเพิ่ม: เฮ็นไต) , แฟนตาซี, สยองขวัญ, ฮาเรม ,โรแมนติก, และนิยายวิทยาศาสตร์
อะนิเมะส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาจากแนวอะนิเมะมากกว่าหนึ่งแนว และอาจมีสารัตถะมากกว่าหนึ่งสารัตถะ ทำให้การจัดแบ่งอะนิเมะเป็นไปได้ยาก เป็นเรื่องปกติที่อะนิเมะแนวแอคชันส่วนใหญ่จะสอดแทรกด้วยเนื้อหาแนวตลว รักโรแมนติก และอาจมีการวิพากษ์วิจารณ์สังคมปนอยู่ด้วย ในทำนองเดียวกันอะนิเมะแนวรักโรแมนติกหลายเรื่องก็มีฉากต่อสู้ที่ดุเดือดไม่แพ้อะนิเมะแนวแอคชันเลย

แนวที่สามารถพบได้แค่ในอะนิเมะและมังงะได้แก่ (สำหรับแนวอื่นๆ ดูรายชื่อแนวภาพยนตร์)
•   บิโชโจะ: (ภาษาญีปุ่นหมายความว่า “เด็กสาวหน้าตาดี”) อะนิเมะที่มีตัวละครหลักเป็นเด็กสาวหน้าตาสวยงาม เช่น เมจิกไนท์เรย์เอิร์ท
•   บิโชเน็น: (ภาษาญี่ปุ่นหมายความว่า “เด็กหนุ่มหน้าตาดี”) อะนิเมะที่มีตัวละครหลักเป็นเด็กหนุ่มหน้าตาหล่อเหลาและท่าทางสง่างาม เช่น ฟูชิกิยูกิ
•   เอดชิ: มีรากมาจากตัวอักษร “H” ในภาษาญี่ปุ่นหมายว่า “ทะลึ่ง” อะนิเมะในแนวนี้จะมีมุขตลกทะลึ่งแบบผู้ใหญ่ และมีภาพวาบหวามแต่ไม่เข้าข่ายอนาจารเป็นจุดขาย ตัวอย่างเช่น คาโนค่อน จิ้งจอกสาวสุดจี๊ด
•   เฮ็นไต: (ภาษาญี่ปุ่นหมายความว่า “ไม่ปกติ ในแง่จิตใจ” หรือ “วิตถาร”) เป็นคำที่ใช้นอกประเทศญี่ปุ่นสำหรับเรียกอะนิเมะที่จัดได้ว่าเป็นสื่อลามกอนาจาร ในประเทศญี่ปุ่นเรียกอะนิเมะประเภทนี้ว่า 18禁アニメ (อ่านว่า “จูฮาจิคินอะนิเมะ”; อะนิเมะสำหรับผู้ใหญ่อายุมากกว่า 18 ปี) หรือ エロアニメ (อ่านว่า “เอะโระอะนิเมะ”; มาจาก “erotic anime” แปลว่า “อะนิเมะที่กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ) ตัวอย่างเช่น ลาบลูเกิร์ล)
•   เมะกะ: อะนิเมะที่มีหุ่นยนต์ยักษ์ เช่น โมบิลสูทกันดั้ม
•   อะนิเมะสำหรับเด็ก: มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กปฐมวัย ตัวอย่างเช่น โดราเอมอน
•   โชเน็น: อะนิเมะที่มีกลุ้มเป้าหมายเป็นเด็กผู้ชาย เช่น ดราก้อนบอล
•   โชโจะ: อะนิเมะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กผู้หญิง เช่น เซเลอร์มูน
•   เซเน็น: อะนิเมะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่นชายตอนปลายถึงผู้ชายอายุประมาณ 20 ปี เช่น โอ้! มายก็อดเดส
•   โจะเซ: (ภาษาญี่ปุ่นหมายถึง “ผู้หญิงอายุน้อย”) อะนิเมะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิงอายุประมาณ 20 ปี ตัวอย่างเช่น นานะ
•   มะโฮโชโจ: แนวย่อยหนึ่งของอะนิเมะแนวโชโจะ มีตัวละครหลักเป็นเด็กผู้หญิงที่มีพลังวิเศษอย่างไดอย่างหนึ่ง เช่น การ์ดแคปเตอร์ซากุระ
•   มะโฮโชเน็น: เหมือนแนวสาวน้อยเวทมนตร์ แต่ตัวเอกเป็นผู้ชาย เช่น ดี.เอ็น.แองเจิล
•   โชโจะไอ/ยุริ: อะนิเมะเน้นความรักร่วมเพศระหว่างผู้หญิง เช่น สตรอเบอรีพานิก
•   โชเน็นไอ/ยะโอะอิ: อะนิเมะเน้นความรักร่วมเพศระหว่างผู้ชาย เช่น กราวิเทชัน

แอนิเมชัน (animation)

แอนิเมชัน (animation)

หมายถึง การสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยการฉายภาพนิ่งหลายๆ ภาพต่อเนื่องกันด้วยความเร็วสูง

การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ในการคำนวณสร้างภาพจะเรียกการสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยคอมพิวเตอร์หรือ คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน หากใช้เทคนิคการถ่ายภาพหรือวาดรูป หรือ หรือรูปถ่ายแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อย ๆ ขยับ จะเรียกว่า ภาพเคลื่อนไหวแบบการเคลื่อนที่หยุด หรือ สตอปโมชัน (stop motion) โดยหลักการแล้วไม่ว่าจะสร้างภาพหรือเฟรมด้วยวิธีใดก็ตามเมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉายต่อกันด้วยความเร็วตั้งแต่ 16 เฟรมต่อวินาทีขึ้นไป เราจะเห็นเหมือนว่าภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เนื่องจากการเห็นภาพติดตา

ในทางคอมพิวเตอร์ การจัดเก็บภาพแบบแอนิเมชันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอินเทอร์เน็ต ได้แก่เก็บในรูปแบบแฟ้มข้อมูลสกุล GIF MNG SVG และ แฟลช

แอนิเมชัน (Animation) หมายถึง

กระบวนการที่เฟรมแต่ละเฟรมของภาพยนตร์ ถูกผลิตขึ้นต่างหากจาก กันทีละเฟรม แล้วนำมาร้อยเรียงเข้าด้วยกัน โดยการฉายต่อเนื่องกัน ไม่ว่าจากวิธีการ ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก ถ่ายภาพรูปวาด หรือ หรือรูปถ่ายแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อย ๆ ขยับเมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉาย ด้วยความเร็ว ตั้งแต่ 16 เฟรมต่อวินาที ขึ้นไป เราจะเห็นเหมือนว่าภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เนื่องจาก การเห็นภาพติดตาในทาง คอมพิวเตอร์ การจัดเก็บภาพแบบอนิเมชันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอินเทอร์เน็ต ได้แก่เก็บในรูปแบบ GIF MNG SVG และ แฟลช

Animation

คือการแสดงภาพอย่างเร็ว ของชุดภาพนิ่งแบบสองมิติ(2D) หรือ เกิดจากการเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุ ที่เราอยากให้เคลื่อนที่ โดยใช้หลักภาพลวงตา ให้ดูเหมือนว่าภาพนิ่งเหล่านั้น มีการเคลื่อนไหว จากหลักการมองเห็นภาพติดตาของคนเรานั่นเองครับ โดย Animation เกิดจากหลายองค์ประกอบรวมตัวกัน โดยหนึ่งในหัวใจของ Animation นั้น คือการ animate

การ animate แปลกันอย่างตรงตัว ก็คือการเคลื่อนไหว ให้ชีวิต กับสิ่งต่างๆ ที่ยังไม่มีการเคลื่อนไหว หรือที่เรามักเรียกติดปากกันว่า ภาพ Still / ภาพนิ่ง ดังนั้น เหล่า Animator ก็คือผู้ให้ชีวิตนั่นเอง

Animation นั้น มีด้วยกันหลายประเภท แต่ในที่นี้ ขอกล่าวถึง3ประเภทที่พบเห็นกันทั่วไป ได้แก่

1. Traditional Animation / Hand Drawing Animation / 2D Animation : เป็นงานแอนิเมชั่นสมัยแรกเริ่ม มักจะใช้การวาดด้วยมือ

งานประเภทนี้ พบเห็นได้ทั่วไป ในการทำ Animation ยุคแรกๆ โดยใช้เทคนิคการวาดด้วยมือ ทีละแผ่น แล้วใช้วิธี Flip เพื่อตรวจดูท่าทางของตัวละครที่เราได้ทำการ animate ไปแล้ว หรือที่เราเรียกกันว่า In Between (IB)

โดยทั่วไปแล้ว ในงาน Animation แบบนี้ ถ้าเป็นงาน Animation จากฝั่งตะวันตก หรือ เป็นหนังโรง จะกำหนดให้ 1 วินาที ใช้รูป 24 เฟรม แต่ถ้าเป็นพวกซีรี่ย์การ์ตูนญี่ปุ่น จะกำหนดไว้ที่ 1 วินาที ใช้รูป 12 เฟรม หรือ อาจมากกว่านั้น

2. Stop-motion หรือ Clay Animation : งานแอนิเมชั่นประเภทนี้ animator จะต้องเข้าไปทำการเคลื่อนไหวโดยตรงกับโมเดล และทำการถ่ายภาพเอาไว้ทีละเฟรมๆ

การทำ Stop Motion ถือเป็นเรื่องยากพอสมควร เพราะ ต้องแม่นในเรื่องของ Timing และ Pose มากๆ แม้การทำจะไม่ต้องอาศัยการวาดรูปเป็นหลัก แต่ก็ต้องทำ IB เองทั้งหมดด้วยมือ

การทำ IB ในงาน Animation ประเภทนี้ ต้องอาศัยความชำนาญในการคำนวนล่วงหน้า เพราะ ถึงแม้จะมีอุปกรณ์ต่างๆ ช่วยในการ Flip แล้วก็ตาม ( เช่น โปรแกรมต่างๆ ที่ช่วยในการ Capture รูป แล้ว Play ดูได้ทันที ) แต่การจัดแสง และการควบคุมความต่อเนื่องระหว่างเฟรม ต้องอาศัยความรอบคอบ และความอดทนสูงมาก บางทีทำกันหลายวันหลายคืนไม่ได้พักเลยก็มี ดังนั้น Animator ของงานประเภทนี้ นอกจากจะต้องมีความชำนาญแล้ว ควรจะมีสุขภาพแข็งแรงด้วย

3. Computer Animation / 2D Animation on computer / 3D Animation : เป็นงานแอนิเมชั่น ที่มักพบกันได้บ่อยในยุคปัจจุบัน เนื่องจากการเข้าถึงโปรแกรมเป็นไปได้ง่าย และการนำหลักการแบบ 2D เข้ามาผสมผสานกับตัวโปรแกรม ทำให้เข้าใจได้ง่าย แถมยังสะดวกในการแก้ไข และแสดงผล จึงเป็นที่นิยมกันมาก Animator ในงานประเภทนี้ จึงมีเกิดขึ้นมาในยุคปัจจุบันอย่างมากมาย พร้อมด้วยความต้องการ ของวงการบันเทิงในยุคนี้ ที่เน้นการทำ CG Animation มากขึ้น ดูได้จากเมืองไทย ที่มีสถาบันสอนการทำ Animation เกิดขึ้นอย่างมากมาย และ Studio ที่ทำงาน Animation ในบ้านเราก็มีมากขึ้น เราจะเห็นได้ว่า งานต่างๆในวงการบันเทิงไทย ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ ภาพยนตร์โฆษณา การ์ตูนซีรี่ย์ ต่างๆ ล้วนล้วนแต่ มีงาน CG Animatoin แฝงอยู่ด้วยแทบทั้งนั้น เรียกได้ว่า เมืองไทยตอนนี้ มีความตื่นตัวในกระแส Animation เป็นอย่างมากเลยทีเดียว

Animation ( อนิเมชั่น) คือ

ภาพเคลื่อนไหว ที่เกิดจากการนำรูปภาพหลายๆรูปภาพมาแสดงอย่างต่อเนื่องกัน โดยไฟล์ที่แสดงจะเป็น *.gif สร้างได้จากหลายโปรแกรม วันนี้ผมจะมาแนะนำให้ทำจากโปรแกรม โฟโต้ ชอป เพราะคิดว่า ดอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่น่าจะมีการติดตั้งมาแล้ว เผื่อคุณอยากสร้างภาพของคุณเอง ไม่ซ้ำกับคนอื่นเอาไว้ดูเล่น ประดับหน้าเว็บ หรือใช้เป็นรูปภาพประจำตัวคุณตามเว็บบอร์ดต่างๆ

สรุปแล้ว

แอนิเมชั่น คือ  ภาพเคลื่อนไหว หรือภาพกราฟฟิกที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อแสดงขั้นตอนหรือปรากฏ การณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การเคลื่อนที่ของอะตอมในโมเลกุล หรือการเคลื่อนที่ของลูกสูบของเครื่องยนต์ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อสร้างสรรค์จินตนาการให้เกิดแรงจูงใจจากผู้ชม  การผลิตภาพเคลื่อนไหวจะต้องใช้โปรแกรมที่มีคุณสมบัติเฉพาะทางซึ่งอาจมีปัญหาเกิดขึ้นอยู่บ้างเกี่ยวกับขนาดของไฟล์ที่ต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บมากกว่าภาพนิ่งหลายเท่านั่นเอง

อะนิเมะ

อะนิเมะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เจ้าหนูปรมาณู อะนิเมะในยุคแรก

อะนิเมะ (ญี่ปุ่น: アニメ anime ?) เป็นคำภาษาญี่ปุ่นที่มาจากภาษาอังกฤษว่า แอนิเมชัน (animation) ซึ่งมาจากภาษาฝรั่งเศส อานีเม (animé) และจากภาษาละติน อานีมา (anima) แปลว่าเคลื่อนไหว หรือภาพเคลื่อนไหว แต่ความหมายกลายจนเป็นคำเฉพาะของภาษาญี่ปุ่นแปลว่า ภาพยนตร์การ์ตูน ภายนอกประเทศญี่ปุ่น อะนิเมะหมายถึงภาพยนตร์การ์ตูนสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะทางศิลปะแตกต่างกับภาพยนตร์การ์ตูนจากแหล่งอื่น อะนิเมะส่วนใหญ่จะวาดขึ้นด้วยมือ แต่ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสร้างอะนิเมะอย่างแพร่หลาย อะนิเมะส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่อให้ความบันเทิงเหมือนภาพยนตร์ โดยมีแนวเรื่องหลากหลายและครอบคลุมแนววรรณกรรมเกือบทุกแนว อะนิเมะส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นเป็นตอนๆ เพื่อฉายทางโทรทัศน์ ส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาวเพื่อฉายในโรงภาพยนตร์ และอีกส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นตอนๆ เพื่อขายตรงในรูปแบบดีวีดี วีซีดี หรือวีดีโอเทป ดูมีการทำตอนเฉพาะที่เรียกว่า โอวีเอ อะนิเมะหลายเรื่องถูกดัดแปลงมาจากมังงะ นอกจากนี้ยังมีอะนิเมะที่ถูกนำไปดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์อีกด้วย

เนื้อหา

ประวัติ

เมื่อปี 1970 นักสร้างภาพยนตร์ชาวญี่ปุ่นเริ่มทดลองใช้เทคนิคการสร้างภาพยนตร์การ์ตูน ซึ่งได้แรงบรรดาลใจมาจาก ภาพยนตร์การ์ตูนใน สหรัฐอเมริกา และยุโรป เพื่อที่ญี่ปุ่นสามารถสร้างภาพยนตร์การ์ตูนของตนเอง ปลายปี 1970 ภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่นได้พัฒนาลักษณะเฉพาะตัวขึ้นจนสามารถแบ่งแยกออกจากภาพยนตร์การ์ตูนของสหรัฐอเมริกาได้อย่างชัดเจน ในทศวรรษที่ 1980 อะนิเมะได้รับความนิยมกว้างขวางในญี่ปุ่น ทำให้ธุรกิจการสร้างอะนิเมะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และในทศวรรษที่ 1990 และ 2000 ชื่อเสียงของอะนิเมะได้แพร่ขยายไปยังนอกประเทศญี่ปุ่น พร้อมๆ กับการขยายตัวของตลาดอะนิเมะนอกประเทศ

คำศัพท์

“อะนิเมะ” (アニメ) เป็นคำย่อของ アニメーション ซึ่งเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอังกฤษ (สังเกตได้ว่าเขียนเป็นคะตะคะนะ) “แอนิเมชัน” (animation) ซึ่งหมายความถึงภาพยนตร์การ์ตูน คำทั้งสองคำนี้สามารถใช้แทนกันได้ในภาษาญี่ปุ่น อย่างไรก็ดีรูปย่อเป็นที่นิยมใช้มากกว่า คำว่า “อะนิเมะ” มีขอบเขตกว้างครอบคลุมภาพยนตร์การ์ตูนทั้งหมด ไม่จำกัดอยู่ที่แนวหรือรูปแบบของภาพยนตร์การ์ตูนใดๆ

“เจแปนิเมชัน” (Japanimation) ซึ่งเกิดจากการผสมคำว่า “เจแปน” (Japan) กับ “แอนิเมชัน” เป็นคำอีกคำที่มีความหมายเหมือน “อะนิเมะ” คำนี้นิยมใช้กันมากในทศวรรษที่ 1970 และ 1980 แต่มีคนใช้น้อยลงตั้งแต่ปี 1990 และหมดความนิยมลงก่อนกลางทศวรรษที่ 1990 ในปัจจุบันคำนี้ถูกใช้อยู่แค่ในประเทศญี่ปุ่นเพื่อแบ่งแยกระหว่างภาพยนตร์การ์ตูนทั่วๆ ไป (ซึ่งคนญี่ปุ่นเรียกรวมๆ ว่า “อะนิเมะ”) และภาพยนตร์การ์ตูนที่ผลิตภายในประเทศ

ภาษาไทยในสมัยก่อนใช้คำว่า “ภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่น” แทนอะนิเมะ คำทับศัพท์ “อะนิเมะ” นั้นไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้ แต่ปัจุบันคำว่า “อะนิเมะ” หรือ “อะนิเมะ” นั้นกลับเป็นคำที่นิยมในหมู่เด็กวัยรุ่นไทยที่ชื่นชอบการ์ตูนญี่ปุ่น ใช้เรียกแทนคำว่า”ภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่น”ของสมัยอดีต

ลักษณะเฉพาะตัว

ตัวอย่างตัวละครอะนิเมะ “วิกิพีตัง” บุคลาธิษฐานของวิกิพีเดีย

ถึงแม้อะนิเมะแต่ละเรื่องจะมีลักษณะทางศิลปะเฉพาะตัวซึ่งขึ้นอยู่กับศิลปินแต่ละคน โดยรวมแล้วเราอาจกล่าวได้ว่าลักษณะเฉพาะตัวของอะนิเมะคือการใช้ลายเส้นที่คม และสีสันที่สดใส มาประกอบเป็นตัวละครที่มีรายละเอียดสูง ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของอะนิเมะคือความหลากหลายของแนวเรื่องและกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่ ผิดกับภาพยนตร์การ์ตูนของฝั่งตะวันตกที่เกือบทั้งหมดมียุวชนเป็นกลุ่มเป้าหมาย

แนว

อะนิเมะมีอยู่หลายแนวเช่นเดียวกับภาพยนตร์ ยกตัวอย่างเช่น แอคชัน, ผจญภัย, เรื่องสำหรับเด็ก, ตลก, โศกนาฏกรรม, อีโรติก (ดูเพิ่ม: เฮ็นไต) , แฟนตาซี, สยองขวัญ, ฮาเรม ,โรแมนติก, และนิยายวิทยาศาสตร์

อะนิเมะส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาจากแนวอะนิเมะมากกว่าหนึ่งแนว และอาจมีสารัตถะมากกว่าหนึ่งสารัตถะ ทำให้การจัดแบ่งอะนิเมะเป็นไปได้ยาก เป็นเรื่องปกติที่อะนิเมะแนวแอคชันส่วนใหญ่จะสอดแทรกด้วยเนื้อหาแนวตลก รักโรแมนติก และอาจมีการวิพากษ์วิจารณ์สังคมปนอยู่ด้วย ในทำนองเดียวกันอะนิเมะแนวรักโรแมนติกหลายเรื่องก็มีฉากต่อสู้ที่ดุเดือดไม่แพ้อะนิเมะแนวแอคชันเลย

แนวที่สามารถพบได้แค่ในอะนิเมะและมังงะได้แก่ (สำหรับแนวอื่นๆ ดูรายชื่อแนวภาพยนตร์)

  • บิโชโจะ: (ภาษาญีปุ่นหมายความว่า “เด็กสาวหน้าตาดี”) อะนิเมะที่มีตัวละครหลักเป็นเด็กสาวหน้าตาสวยงาม เช่น เมจิกไนท์เรย์เอิร์ท
  • บิโชเน็น: (ภาษาญี่ปุ่นหมายความว่า “เด็กหนุ่มหน้าตาดี”) อะนิเมะที่มีตัวละครหลักเป็นเด็กหนุ่มหน้าตาหล่อเหลาและท่าทางสง่างาม เช่น ฟูชิกิยูกิ
  • เอดชิ: มีรากมาจากตัวอักษร “H” ในภาษาญี่ปุ่นหมายว่า “ทะลึ่ง” อะนิเมะในแนวนี้จะมีมุขตลกทะลึ่งแบบผู้ใหญ่ และมีภาพวาบหวามแต่ไม่เข้าข่ายอนาจารเป็นจุดขาย ตัวอย่างเช่น คาโนค่อน จิ้งจอกสาวสุดจี๊ด
  • เฮ็นไต: (ภาษาญี่ปุ่นหมายความว่า “ไม่ปกติ ในแง่จิตใจ” หรือ “วิตถาร”) เป็นคำที่ใช้นอกประเทศญี่ปุ่นสำหรับเรียกอะนิเมะที่จัดได้ว่าเป็นสื่อลามกอนาจาร ในประเทศญี่ปุ่นเรียกอะนิเมะประเภทนี้ว่า 18禁アニメ (อ่านว่า “จูฮาจิคินอะนิเมะ”; อะนิเมะสำหรับผู้ใหญ่อายุมากกว่า 18 ปี) หรือ エロアニメ (อ่านว่า “เอะโระอะนิเมะ”; มาจาก “erotic anime” แปลว่า “อะนิเมะที่กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ) ตัวอย่างเช่น ลาบลูเกิร์ล)
  • เมะกะ: อะนิเมะที่มีหุ่นยนต์ยักษ์ เช่น โมบิลสูทกันดั้ม
  • อะนิเมะสำหรับเด็ก: มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กปฐมวัย ตัวอย่างเช่น โดราเอมอนนารูโตะนินจาจอมคาถา
  • โชเน็น: อะนิเมะที่มีกลุ้มเป้าหมายเป็นเด็กผู้ชาย เช่น ดราก้อนบอล
  • โชโจะ: อะนิเมะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กผู้หญิง เช่น เซเลอร์มูน
  • เซเน็น: อะนิเมะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นวัยรุ่นชายตอนปลายถึงผู้ชายอายุประมาณ 20 ปี เช่น โอ้! มายก็อดเดส
  • โจะเซ: (ภาษาญี่ปุ่นหมายถึง “ผู้หญิงอายุน้อย”) อะนิเมะที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิงอายุประมาณ 20 ปี ตัวอย่างเช่น นานะ
  • มาโฮะโชโจ: แนวย่อยหนึ่งของอะนิเมะแนวโชโจะ มีตัวละครหลักเป็นเด็กผู้หญิงที่มีพลังวิเศษอย่างไดอย่างหนึ่ง เช่น การ์ดแคปเตอร์ซากุระ
  • มาโฮะโชเน็น: เหมือนแนวสาวน้อยเวทมนตร์ แต่ตัวเอกเป็นผู้ชาย เช่น ดี.เอ็น.แองเจิล
  • โชโจะไอ/ยุริ: อะนิเมะเน้นความรักร่วมเพศระหว่างผู้หญิง เช่น สตรอเบอรีพานิก
  • โชเน็นไอ/ยะโอะอิ: อะนิเมะเน้นความรักร่วมเพศระหว่างผู้ชาย เช่น เลิฟเลส

ที่มาของการ์ตูน

ที่มาของการ์ตูน
การ์ตูนที่เราๆท่านๆอ่านกันทุกวันนี้นั้น หากย้อนกลับไป ก็คงจะเริ่มต้นที่ยุโรป ประมาณคริสต์ศตวรรษที่13 ช่วงเรเนซองต์ ซึ่งการ์ตูนนั้นก็มีรากศัพท์มาจากภาษาอิตาเลี่ยน catone ซึ่งแปลว่า กระดาษผืนใหญ่ และ ในสมัยนั้นก็ยังเป็นงานศิลปะแบบเฟรสโก้
(เป็นงานภาพพวกสีน้ำมัน) โดยเฉพาะผลงานของ ลีโอนาร์โด้ ดาวินซี่ และ ราฟาเอลนั้นจะมีราคาสูงมาก

และจากนั้น การ์ตูนของแต่ละชาติและแต่ละพื้นที่ก็มีการพัฒนาแตกต่างกันไป จนเป็นสิ่งที่เราเห็นกัน ก็คือ มีการเดินเรื่องกันเป็นช่องสี่เหลี่ยม และมีการใส่คำพูดของ ตัวการ์ตูนในแต่ละช่องด้วย หรือเรียกกันว่า คอมิค

การ์ตูนฝรั่ง
โดยเริ่มต้น ที่ ยุโรป สมัยคริสศตวรรษที่18 โดยมีการค้นพบ ภาพร่างของการ์ตูนของWilliam Hogarth นักวาดการ์ตูนชาวอังกฤษ ในปี 1843 นิตยสารPunch ก็ได้ลงการ์ตูนล้อเลียนการเมืองของJohn Leech และถือว่า เป็นการ์ตูนเรื่องแรกที่ถูกตีพิมพ์ลงในหนังสืออย่างเป็นทางการอีกด้วย
ซึ่งในช่วงนั้นเองการ์ตูนเสียดสีทางการเมืองเป็นที่นิยมมากในอังกฤษอีกด้วย และจากจุดเริ่มต้นนี้เอง ก็ทำให้ประเทศอื่นๆอย่าง เยอร์มัน จีน ก็เริ่มตีพิมพ์หนังสือการ์ตูนลงในสื่อต่างๆด้วย

ในปี 1884 Ally Sloper’s Half Holiday ก็เป็นนิตยสารการ์ตูนเรื่องแรกที่ถูกตีพิมพ์อีกด้วย
ในคริสต์ศตวรรษที่20 งานการ์ตูนก็เริ่มมีความแตกต่างจากนิยายภาพเรื่อยๆ ช่วงต้นศตวรรษที่20 ในสหรัฐฯ ก็มีการตีพิมพ์การ์ตูนลงในหนังสือพิมพ์ และรวมเล่มซึ่งจะเน้นแนวขำขันเป็นหลัก

 ในปี1929 ติน ติน ผจญภัย การ์ตูนแนวผจญภัยก็ได้ถูกตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ของเบลเยี่ยม ซึ่งตีพิมพ์ลงสีขาวดำในขณะนั้น
ส่วนการ์ตูนภาพสีนั้น ก็เริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกที่สหรัฐ และ The Funnies ก็จัดว่าเป็นการ์ตูนภาพสีเรื่องแรกอีกด้วย
ช่วงสงครามโลกครั้งที่2นั้น คนทั่วโลกก็ปั่นป่วน สังคมก็เริ่มมีปัญหา ซึ่งทำให้มีผลต่องานการ์ตูนในยุคนั้นก็คือ จะเน้นแนวซุปเปอร์ฮีโร่ อย่างซุปเปอร์แมน เป็นต้น
และในปัจจุบันนั้น การ์ตูนฝรั่งก็เริ่มที่จะมีหลากหลายแนวมากขึ้น เนื้อเรื่องมีมิติมากขึ้น รวมไปถึงเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น และมีการให้ทุนการศึกษาในการพัฒนาด้านการ์ตูนอีกด้วยในปี 1980

ติน ติน ผจญภัย
Ally Sloper’s Half Holiday ปี1884

การ์ตูนญี่ปุ่น
ส่วนพัฒนาการของการ์ตูนญี่ปุ่นนั้น ก็เริ่มมาจากหลังสงครามโลกครั้งที่2 มังงะ(manga) เริ่มพัฒนาให้ทันสมัยและเป็นที่รู้จักมากขึ้น ซึ่ง มังงะนั้น ก็เป็นการนำ อุกิโยเอะ (ภาพเขียนแบบญี่ปุ่น ซึ่งจะเน้นความคิดและอารมณ์มากกว่าลายเส้นและรูปร่าง) กับการเขียนภาพแบบตะวันตกมารวมกัน ซึ่งคำว่ามังงะ นั้นก็แปลตรงๆว่า ความไม่แน่นอน ซึ่งเริ่มต้นจากหนังสือโฮคุไซ มังงะ ส่วนอีกเล่มหนึ่งก็คือ งิงะ ซึ่งเป็นภาพล้อเลียนจากศิลปิน12ท่าน ซึ่งดูแล้วจะใกล้เคียงกับมังงะมากที่สุด


ภาพอุกิโยเอะ
จุดเริ่มต้นของการพัฒนานั้นก็มาจากการค้าขายระหว่างสหรัฐฯและญี่ปุ่น ญี่ปุ่นในขณะนั้นต้องการที่จะพัฒนาไปสู่สังคมใหม่ ก็เลยมีการจ้างศิลปินชาวตะวันตกให้เข้ามาสอนศิลปะ สไตล์ตะวันตกทั้งด้านลายเส้น สี หรือ รูปร่าง ซึ่งเป็นส่วนที่ภาพอุกิโยเอะไม่มีนั้นมารวมกัน เป็น มังงะหรือ การ์ตูนญี่ปุ่นในปัจจุบัน และการ์ตูนญี่ปุ่น ก็เป็นที่นิยมมากขึ้น หลังจากที่รัฐบาลสั่งยกเลิก การคว่ำบาตรสื่อต่างๆ ซึ่งมังงะในยุคแรกๆนั้น จะออกไปทางนิยายภาพมากกว่า หลังจากนั้น เท็ตซึกะ โอซามุ 
ก็เป็นผู้ที่พัฒนาการ์ตูนแบบญี่ปุ่นให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากยิ่งขึ้น และเป็นอย่างที่เราเห็นกันในทุกวันนี้ จนได้รับการขนานนามว่า ปรมาจารย์แห่งการ์ตูนญี่ปุ่น และนักเขียนการ์ตูนยุคหลังๆก็ได้พัฒนาแนวคิดของ เนื้อเรื่องไป สร้างสรร จนได้การ์ตูนเรื่องสนุกที่หลายคนชื่นชอบกัน และความนิยมของการ์ตูนญี่ปุ่นก็แพร่กระจายความนิยมไปยัง เอเชีย ยุโรป รวมถึงอเมริกา และมีผลทำให้การ์ตูนเรื่องใหม่ๆทางฝั่งตะวันตกก็ได้รับอิทธิพลมาจากการ์ตูนญี่ปุ่นด้วย(อย่างเช่น เรื่อง Witch เป็นต้น)

การ์ตูนไทย
ส่วนพัฒนาการของการ์ตูนไทยนั้น ก็เริ่มมาจากงานภาพวาดบนกำแพงตามวัดต่างๆ หลังจากที่ไทยเรา เริ่มพัฒนาประเทศให้เข้ากับวัฒนกรรมตะวันตกนั้นเอง การ์ตูนไทยก็เริ่มมีบทบาทที่เป็นรูปภาพประกอบเนื้อเรื่องในนิยาย หรือเรียกอีกอย่างก็คือ นิยายภาพ โดยเฉพาะการ์ตูนการเมือง
ในปีพ.ศ.2500 ถือเป็นยุคเฟื่องฟูของหนังสือการ์ตูนไทย มีการตีพิมพ์รวมเล่มจากหนังสือพิมพ์ และ วารสาร โดยมี เหม เวชกร และ จุก เบี้ยวสกุล เป็นนักเขียนที่ขึ้นชื่อในสมัยนั้น หลังจากนั้นก็มีการตีพิมพ์เป็นการ์ตูนเล่มละบาท ซึ่งเป็นแนวสยองขวัญ ตามด้วย การ์ตูนแก๊กเน้นตลก อย่าง ขายหัวเราะ มหาสนุก หนูจ๋า และ เบบี้ ที่ยังคงขายดีจนถึงปัจจุบัน
ส่วนการ์ตูนไทยตามแบบสไตล์การ์ตูนญี่ปุ่นนั้น ก็เพิ่งจะตื่นตัวไปไม่กี่สิบปี โดยจุดเริ่มต้น มาจากนิตยสารไทยคอมิค ของสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ และจากจุดนี้นี่เองก็ทำให้การ์ตูนไทยที่ทำท่าจะผีเข้าผีออกก็เริ่มเป็นที่ยอมรับของคนอ่านมากขึ้น ในสไตล์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น การ์ตูนแปลงจากวรรณคดี บุคคลสำคัญ ,Joe-theSeacret Agent ,มีด13,การ์ตูนเสนอมุมมองใหม่ๆอย่าง HeSheIt, นายหัวแตงโม รวมไปถึง การ์ตูนดัดแปลงจากพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนกและคุณทองแดง

จุก เบี้ยวสกุล
He She It

ที่มาของการ์ตูนอนิเมชั่น
อนิเมชั่น ก็มีความหมายที่แปลได้โดยตรงคือ ความมีชีวิตชีวา มาจากรากศัพท์จากคำว่า anima ซึ่งแปลว่าจิตวิญญาณ หรือมีชีวิต แต่ต่อมา อนิเมชั่นก็มีความหมายตามที่เราๆท่านๆเข้าใจกันในปัจจุบันนี้ ก็คือ การสร้างภาพเคลื่อนไหวได้ หรือ ภาพการ์ตูนที่เคลื่อนไหวได้ ส่วนอนิเมชั่นในความหมายเชิงภาพยนตร์ก็คือ กระบวนการการฉายรูปเฟรมภาพออกมาทีละเฟรม หรือสร้างด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิค หรือ ทำด้วยการวาดมือ และทำซ้ำการเคลื่อนไหวทีละน้อยๆซึ่งจะแสดงทีละภาพในอัตราความเร็ว มากกว่าหรือเท่ากับ16ภาพ ต่อ 1 วินาที(ปัจจุบัน 24เฟรม ต่อ 1 วินาที –NTSC) ส่วน อนิเม ก็เป็นคำอีกคำหนึ่งที่ใช้กันบ่อยๆนั้น ก็เป็นคำที่ ญี่ปุ่น เรียกอนิเมชั่นกันแบบย่อๆ(ถ้าสังเกตกันจริง ญี่ปุ่นจะเป็นชาติที่เรียกคำย่อได้ไม่เหมือนใครเลย อย่าง PC ก็เรียก ปาโซคอม ซะงั้น) แต่ต่างกับอนิเมชั่นของฝรั่ง เพราะ อนิเมชั่นจะเน้นการเล่าเรื่องมากกว่าภาพเคลื่อนไหว ความเป็นมาของอนิเมชั่นในแต่ละพื้นที่ของโลกก็มีพัฒนาการที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งแต่ละท้องที่มีพัฒนาการดังนี้

อนิเมชั่นฝรั่ง
อนิเมชั่นแต่ละเรื่องในยุคแรกๆนั้นจะดัดแปลงจากภาพยนตร์เงียบ ที่ยุโรปในปี 1908 อนิเมชั่นก็ได้ถือกำเนิดขึ้นในโลก นั่นก็คือเรื่อง Fantasmagorie ของ Emile Courtet ผู้กำกับชาวฝรั่งเศส ส่วนภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องยาวเรื่องแรกของโลก นั่นก็คือ Satire du Pt Irigoyen ของอาร์เจนติน่า ในปี1917 และตามด้วย The Adventure of Prince Achmed

ในขณะเดียวกัน ที่สหรัฐฯ ก็มีการเริ่มต้นพัฒนาด้านอนิเมชั่นซึ่งหนังในช่วงแรกๆก็มี Koko the Clown และ Felix the Cat ในปี 1923 วอล์ท ดิสนี่ย์ ก็ถือกำเนิดขึ้นด้วย


Fantasia
หลังจากที่วอล์ท ดิสนี่ย์ได้กำเนิดขึ้น ก็ทำให้เกิดยุคทองหนังอนิเมชั่นของดิสนี่ย์ในช่วงระยะเวลาถึง20ปีเลยทีเดียว ในปี1928 มิกกี้ เมาส์ก็ถือกำเนิดขึ้น ตามด้วย พลูโต กู๊ฟฟี่ โดนัลด์ ดั๊ก เป็นต้น และในปี 1937 สโนว์ไวท์และคนแคระทั้ง7 ก็เป็นอนิเมชั่นเรื่องยาวเรื่องแรกของ ดิสนี่ย์ และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และทยอยมีอนิเมชั่นเรื่องอื่นๆตามมา เช่น Pinocchio, Fantasia ,Dumbo, Bambi ,Alice in Wonderland, Peter Pan จากนั้นก็มีการตั้งสตูดิโอของ Warner Brother,MGM และ UPA
ในช่วงปี1960 หลังจากที่ภาพยนตร์อนิเมชั่นประสบความสำเร็จ ก็ก่อให้เกิดธุรกิจอนิเมชั่นบนจอโทรทัศน์ขึ้นมา ซึ่งมีทั้งการ์ตูนของดิสนี่ย์ และการ์ตูนพวกฮีโร่ทั้งหลายแหล่อย่าง ซุปเปอร์แมน แบทแมน ฯลฯ และในขณะเดียวกัน ก็มีการศึกษาการทำอนิเมชั่น3มิติอีกด้วย
เวลาก็ได้ล่วงมาถึง ช่วงปี 1980 ภาพยนต์ของดิสนี่ย์ก็ถึงคราวซบเซา แต่ทว่าในปี 1986 The Great Mouse Detective ก็เป็นอนิเมชั่นเรื่องแรกของโลก ที่นำเอา 3D อนิเมชั่นมาใช้ด้วย ซึ่งก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้อนิเมชั่นของดิสนี่ย์กลับมา ได้รับความนิยมใหม่อีกครั้งหนึ่ง ทั้ง Beauty and the Beast,Aladin ,Lion King ในปี1995 ภาพยนตร์อนิเมชั่น3มิติเรื่องแรกของโลก อย่าง Toy Story ก็ถือกำเนิดขึ้น และ ทำให้มีการสร้างสรรงานอนิเมชั่น3มิติอีกหลายๆงานต่อมาจนถึงปัจจุบัน รวมไปถึง มีการทำอนิเมชั่นเพื่อจับกลุ่มคนดูที่เป็นผู้ใหญ่ด้วย อย่างเช่น The Simpsons ,South Park และมีการยอมรับอนิเมชั่นจากประเทศอื่นๆมากขึ้นอีกด้วย

อนิเมชั่นญี่ปุ่น
ส่วนที่ญี่ปุ่นนั้น การพัฒนาอนิเมชั่นนั้น ก็มีประวัติศาสตร์มายาวนาน สันนิษฐานว่า น่าจะเริ่มต้นประมาณปี 1900 บนฟิลม์ขนาด35มม. เป็นอนิเมชั่นสั้นๆเกี่ยวกับทหารเรือหนุ่มกำลังแสดงความเคารพ และใช้ทั้งหมด 50 เฟรมเลย ส่วน เจ้าหญิงหิมะขาว ก็เป็นอนิเมชั่นเรื่องแรกของทางญี่ปุ่น ก็สร้างในปี 1917
จนมาถึงปี 1958 อนิเมชั่นเรื่อง นางพญางูขาว(Hakujaden) ก็เป็นอนิเมชั่นเรื่องแรกที่เข้าฉายในโรง และจากจุดนั้นเอง อนิเมชั่นญี่ปุ่นก็มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจาก


นางพญางูขาว(Hakujaden)
-ปี1962 Manga Calender เป็นอนิเมชั่นทางทีวีเรื่องแรกของญี่ปุ่น
-ปี1963 เจ้าหนูปรมาณู(Astro Boy) ก็เป็นอนิเมชั่นเรื่องแรกที่ดัดแปลงมาจากมังงะ(หนังสือการ์ตูน)โดยตรง แถมเป็นอนิเมชั่นสีเรื่องแรก และเป็นเรื่องแรกที่ออกไปฉายในอเมริกา
-ปี1966 แม่มดน้อยแซลลี่(Mahoutsukai Sally)ก็เป็นการ์ตูนอนิเมชั่นสำหรับเด็กผู้หญิงเรื่องแรกด้วย
-ปี1967 Ribon no Kishi ก็เป็นอนิเมชั่น เรื่องแรกที่ดัดแปลงมาจากการ์ตูนผู้หญิง (แถมต้นฉบับก็เป็นหนังสือการ์ตูนเด็กผู้หญิงเรื่องแรกของญี่ปุ่นด้วย)
-1001 Night ก็จัดว่าเป็นการ์ตูนเรื่องแรกที่เจาะกลุ่มคนดูเป็นผู้ใหญ่ ในปี 1969
-ปี1972 Mazinga ก็เป็นจุดกำเนิดของการ์ตูนแนวSuper Robot
-ปี1975 Uchuu Senkan Yamato ก็เปิดศักราชหนังการ์ตูนยุคอวกาศ จนมาถึง Mobile Suit Gundam ในปีเดียวกัน
-ปี1981 ถือกำเนิด ไอด้อลครั้งแรกในวงการการ์ตูน นั่นก็คือ ลามู จาก Urusei Yatsura
– อากิระ ในปี 1988 สร้างปรากฏการณ์ให้กับวงการอนิเมชั่นทั่วโลก
-จนในปี 1995 ญี่ปุ่นกับอเมริกาก็ร่วมมือกันสร้าง Ghost in the Shell ขึ้น และมีอิทธิพลต่อการสร้างหนัง The Matrix ด้วย
-ในปี1997 ฮายาโอะ มิยาซากิ ก็นำ Princess Mononoke ก้าวไปสู่ระดับอินเตอร์ จนปี2003 ก็คว้ารางวัลออสการ์ครั้งที่75 สาขาอนิเมชั่นยอดเยี่ยม จากเรื่อง Spirited Away รวมไปถึง Dragonball ของ อากิระ โทริยามะ ก็สร้างความนิยมไปทั่วโลกอีกด้วย

Ribbon no Kishi

อนิเมชั่นไทย
พูดถึงอนิเมชั่นตะวันตกและญี่ปุ่นกันไปแล้ว ขอพูดถึงพัฒนาการของอนิเมชั่นในเมืองไทยด้วยก็แล้วกัน โดยอนิเมชั่นในบ้านเรานั้น ก็เริ่มต้นเมื่อ 60 ปีที่แล้ว ตัวการ์ตูนอนิเมชั่นจะพบได้ในโฆษณาทีวี เช่น หนูหล่อของยาหม่องบริบูรณ์ปาล์ม ของ อ.สรรพสิริ วิริยสิริ ซึ่งเป็นผู้สร้างอนิเมชั่นคนแรกของไทย และยังมีหมีน้อย จากนมตราหมี แม่มดกับสโนว์ไวท์ของแป้งน้ำควินน่าอีกด้วย
อ.เสน่ห์ คล้ายเคลื่อน ก็มีความคิดที่จะสร้างอนิเมชั่นเรื่องแรกในไทย แต่ก็ต้องล้มไปเพราะกฎหมายควบคุมสื่อในสมัยนั้น และ10ปีต่อมา ปี พ.ศ. 2498 อ.ปยุต เงากระจ่าง ก็ทำสำเร็จจนได้จากเรื่อง เหตุมหัศจรรย์ที่ใช้ประกอบภาพยนตร์ ทุรบุรุษทุย ของ ส.อาสนจินดา หลังจากนั้นก็มีโครงการอนิเมชั่น หนุมาน การ์ตูนต่อต้านคอมมิวนิสต์ ที่ได้รับการสนับสนุนจากอเมริกาแต่ก็ล้มเหลว เพราะเหมือนจะไปเสียดสี จอมพล สฤษดิ์ ธนรัตน์ ผู้นำในสมัยนั้นซึ่งเกิดปีวอก
ปี พ.ศ. 2522 สุดสาครของ อ.ปยุต เงากระจ่าง ก็เป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาวเรื่องแรกของบ้านเรา และก็ประสบความสำเร็จมากพอสมควรในยุคนั้น ปีพ.ศ.2526 ก็มีอนิเมชั่นทางทีวีเรื่องแรกที่เป็นฝีมือคนไทยนั่นก็คือ ผีเสือแสนรัก ต่อจากนั้นก็มี เด็กชายคำแพง หนูน้อยเนรมิต เทพธิดาตะวัน จ่ากับโจ้ เนื่องจากการทำอนิเมชั่นนั้นต้องใช้ต้นทุนค่อนข้างสูง ก็เลยทำให้อนิเมชั่นในเมืองไทยนั้นต้องปิดตัวลง

  ประมาณปี2542 อนิเมชั่นของคนไทยที่ทำท่าว่าจะตายไปแล้ว ก็กลับมาฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง จากความพยายามของบ.บรอสคาสต์ไทย เทเลวิชั่น ก็ได้นำการ์ตูนที่ดัดแปลงจากวรรณคดีฝีมือคนไทย ทั้ง ปลาบู่ทอง สังข์ทอง เงาะป่า และโลกนิทาน และได้รับการตอบรับอย่างดี จนในปีพ.ศ. 2545 น่าจะเรียกว่าเป็นปีทองของอนิเมชั่น3มิติของคนไทยเลย โดยเฉพาะ ปังปอนด์ ดิ อนิเมชั่น และ สุดสาคร ซึ่งทั้ง2เรื่องก็สร้างปรากฏการณ์ในแง่ของการขายคาแร็คเตอร์ใช้ประกอบสินค้า และ เพลงประกอบ จ้ามะจ๊ะ ทิงจา ก็ฮิตติดหูด้วย รวมไปถึง การที่มีบริษัทรับจ้างทำอนิเมชั่นของญี่ปุ่นและอเมริกาหลายๆเรื่องอีกด้วย และเราก็กำลังจะมี ก้านกล้วย อนิเมชั่นของบ.กันตนา ที่กำลังจะเข้าฉายไปทั่วโลก ซึ่งเราก็หวังว่า อนิเมชั่นฝีมือคนไทย คงที่จะมีหลายเรื่อง หลากหลายแนวมากขึ้น ไม่แพ้อนิเมชั่นของฝั่งญี่ปุ่นและตะวันตกเลยทีเดียว
ปังปอนด์ ดิ อนิเมชั่น

ฮินาตะ นัทสึมิ

ฮินาตะ นัทสึมิ


เป็นพี่สาวของฮินาตะฟูยูกิเป็นคนที่เคโรโระกลัวเก่งทั้งด้านการเรียนกีฬาและ ทะเลาะวิวาทรวมถึงเป็นที่ชื่นชมของนักเรียนหญิงด้วยกันแต่ด้วยภาระทางครอบ ครัวจึงไม่ได้เข้าชมรมไหนเลยเป็นไม้เบื่อไม้เมากับเคโรโระและพฤติกรรมของนัท สึมิก็ได้ช่วยโลกให้ปลอดภัยหลายครั้งเป็นคนกระตือรือร้นผิดกับน้องชายชนิดคน ละขั้วเลยทีเดียวชอบ 623 มุทสึมิมากขนาดต้องฟังรายการของ 623 ทุกวันท่ามกลางหน่วยรบเคโรโระมีเพียงกีโรโระคนเดียวที่หวังพึ่งได้จึงสนิท มากกว่าตัวอื่นพวกเคโรโระยังได้สร้างเกราะพาวเวอร์สูท Aegis ? type

สำหรับให้นัทสึมิใช้งานซึ่งเกราะนี้จะมีลักษณะคล้ายกับเมกะโชโจะและเอมเอสโช โจะเกราะนี้ยังได้รับการออกแบบจากคาโทกิ ฮาจิเมะ ผู้ออกแบบโมบิลสูทในกันดั้มอีกหลาย ๆ ภาคแต่นัทสึมิกลับถอดไม่ออกเพราะเกราะนี้ต้องมีรหัส นัทสึมิมีผมสีชมพูอายุ 15 ปี เกิดวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2535 ส่วนสูง 170 ซม.น้ำหนัก 42 กิโลกรัมและนัทสึมิก็ยังได้แอบหลงรักรุ่นพี่ซาบุโร่แต่ไม่กล้าบอกรักเช่น เดียวกับโมโมกะ